วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การใช้งานโปรแกรม FreeMind



























การเลื่อนหัวข้อจากด้านขวามือไปด้านซ้ายมือของชื่อเรื่องหรือจัดลำดับจากด้านล่างให้มาอยู่ด้านบน
1. คลิกเมาส์ซ้ายมือค้างไว้ที่ข้อความนั้น ปรากฏแถบสีดำ เคอเซอร์เปลี่ยนเป็นลูกศรมีสี่เหลี่ยมอยู่ด้านล่าง
2. ลากเมาส์ไปตำแหน่งใหม่

การแก้ไขข้อความให้สั้น
คลิกเมาส์ขวามือที่ข้อความนั้น > คลิก Edit Long Node...> ปรับความยาวของข้อความ > คลิก OK


การปรับขนาดตัวอักษรทั้งหมดในครั้งเดียว
คลิกเมาส์ขวามือที่ข้อความนั้น > คลิก Select All Visible > ที่มุมบนขวามือคลิกเลือกขนาดที่ต้องการ > คลิกเมาส์ซ้ายตรงที่ว่าง


การตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับพิมพ์
คลิก File > Page Setup..> คลิกในช่องสี่เหลี่ยมหน้า Fit to One Page > OK > คลิกในวงกลมหน้า Landscape > OK


การปรับให้มี 2 หน้าจอพร้อมกัน
ที่มุมบนขวามือ คลิก ปรากฏ
ที่มุมบนซ้ายมือ คลิกเมาส์ปรากฏ 2 หัวลูกศร คลิกเมาส์ซ้ายมือค้างไว้ ลากลดขนาดหน้าจอ

ศึกษาเพิ่มเติม


การติดตั้งโปรแกรม FreeMind

1. คลิกที่ http://www.design.kmutt.ac.th/FreeMind.htm

2. ติดตั้งจาวา คลิกที่ JRE for FreeMind

3. ติดตั้งฟรีไมน์ คลิกที่ FreeMind

เฉลยแบบฝึก


วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม
1. ที่ช่องค้นหาพิมพ์ที่อยู่บล็อกของตนเอง ตัวอย่างเช่น http://envisurin.blogspot.com
2. คลิกลงชื่อเข้าใช้งาน
3. คลิกความคิดเห็นท้ายบทความเพื่อดูคะแนนการเรียนสัปดาห์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3,4 พ.ย. 2552
ถ้าไม่มี แจ้งอาจารย์ให้ทราบ ยกเว้นผู้ที่เขียนลงกระดาษA4
4. ถ้ายังไม่ปรับแต่งบล็อกให้ชื่อบล็อกเป็นชื่อเล่นภาษาไทยตามด้วยเลขประจำตัว 2 ตัวสุดท้าย วันที่ของบทความเป็นวันที่ปัจจุบัน และเวลาท้ายบทความเป็นชั่วโมงและนาที ตัวอย่างเช่น 21:29 ให้ปรับแต่งโดยเปิดดูที่ http:// geosurin.blogspot.com > คลิกที่พฤศจิกายน>คลิกที่คลังบทความด้านขวามือ > คลิกที่การปรับแต่งบล็อกบันทึกงาน และปฏิบัติตามนั้น ซึ่งการตรวจอันดับแรกจะดูว่าบล็อกมีการปรับแต่งแล้วหรือไม่
5. จากนั้นที่มุมบนขวามือคลิกบทความใหม่
6. ที่ชื่อเรื่อง ให้พิมพ์ ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
7. ที่ช่องรายละเอียดให้พิมพ์เลขหมายของรูป ดูรูปและอ่านคำอธิบายใต้รูป จากนั้นพิมพ์ข้อความว่าแต่ละรูปเชื่อมโยงไปถึงเรื่องอะไร


1. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการกิน ตัวอย่างเช่น ห่วงโซ่อาหาร 3 กลุ่ม
ปรับปรุงจาก Marsh & Grossa, 2002, p. 82.


2. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน มนุษย์อาศัยความสัมพันธ์นี้ในการเกษตรกรรม
ที่มา (สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว, ม.ป.ป.) (ปกรณ์ สุปินานนท์, 2551)



3. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบอาศัยฝ่ายเดียว ตัวอย่างเช่น เกาะสุนัขที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมในภาคกลาง
ที่มา (เกาะสุนัข- พุทธมณฑล, 2546)


4. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินภายนอกร่างกายของผู้ถูกเกาะกิน ตัวอย่างเช่น เหาบนหัวมนุษย์
ที่มา (กวงคุง, 2550)

5. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินหรือปรสิต ตัวอย่างเช่น เด็กหญิงอายุ 7 ขวบที่จังหวัดเชียงรายในภาคเหนือถูกปลิงยาวประมาณ 1 นิ้ว เกาะดูดเลือดบริเวณลำคอ

ที่มา (ปลิงมฤตยูเกาะดูดเลือดเหยื่อไม่เลือกที่, 2548)


6.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินภายในร่างกายผู้ถูกเกาะกิน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยชาวเวียดนามติดเชื้อไวรัสจากไก่ ซึ่งมีอาการปอดถูกทำลาย และแผนที่แสดงการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในทวีปเอเชีย
ที่มา (วีระชัย ศักดาจิวะเจริญ, ม.ป.ป.) (แอปเพนเซลเลอร์, 2548, 107-110)


7. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบผู้ล่าและเหยื่อ ตัวอย่างเช่น เจ้าของนาเกลือจังหวัดอุดรธานีจับปลากะพงในบ่อเก็บน้ำกร่อยหลังการทำนาเกลือ
ที่มา (เริงฤทธิ์ คงเมือง, 2552, 138)


8. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบผู้ล่าและเหยื่อ ตัวอย่างเช่น ยุงเอเดสเอยิปตีพาหะนำเชื้อโรคไข้เหลือง มนุษย์ควบคุมจำนวนให้เป็นเหยื่อยุงอื่น
ที่มา (วรวุฒิ เจริญศิริ, 2548)

9. ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการสูญเสียพื้นที่ของระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่น นายวรศักดิ์ วิทยาเมธีวงศ์ อายุ 56 ปี ชาวนครสวรรค์ และนายสนั่น แก้วดี อายุ 38 ปีหมู่ที่ 2 ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์2 ลักลอบส่งไม้พะยูงไปจีน
ที่มา (จับไม้พะยูงล็อตใหญ่, 2550, หน้า 1)

10.ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการสูญเสียพื้นที่ของระบบนิเวศ เป็นแผนที่แสดงแดนวิกฤตระบบนิเวศธรรมชาติของโลกในทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และโอเชียนเนีย

ที่มา (วิลสัน, 2545, 133)

11. ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น คนงานชาวทมิฬกำลังเก็บใบชาบนลาดเขา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นระบบนิเวศป่าดิบ ป่าดิบปะปนทุ่งหญ้าที่รัฐเกรละ ประเทศอินเดียในภูมิภาคเอเชียใต้
ที่มา (เวิร์ด, 2545, 138-139)


12.ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติจากการทำให้พื้นที่ระบบนิเวศ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตขาดเป็นส่วนๆไม่ต่อเนื่องกัน ตัวอย่างเช่น การเกษตรกรรม
ปรับปรุงจาก Marsh & Grossa, 2002, p. 349



13.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกระบวนการสนับสนุนการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น น้ำในวัฏจักรน้ำ
ที่มา (สกว., 2548)

14. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกระบวนการคุกคามการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น ทอร์นาโด รัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือ
ที่มา (ทอร์นาโด, 2547)


15. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยกระบวนการคุกคามการดำเนินชีวิต ตัวอย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนถล่มรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาในทวีปอเมริกาเหนือหลายลูก และสภาพบ้านพังเพราะคลื่นซัดฝั่งจากพายุเฮอร์ริเคน
ที่มา (แคร์รอลล์, 2548, 60-65)



16.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตจากไฟป่า ตัวอย่างเช่น ไฟป่าที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือ
ที่มา (ดูจะจะ สงครามฝุ่นเชียงใหม่, 2550)



17.แผนที่จังหวัดเสี่ยงภัยไฟป่าในประเทศไทย
ปรับปรุงจาก Wikimedia Commons, 2005


18. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงชาวจีนใกล้ทะเลทรายโกบีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อาศัยในบ้านก่อด้วยอิฐโคลน ใช้แผงกระจกรับแสงอาทิตย์ในการหุงข้าวและชงชา
ที่มา (เว็บสเตอร์, 2545, 103)


19. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น พิธีแกลมอหรือพิธีบำบัดผู้ป่วยของชาวกูย จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2548 ตามความเชื่อที่ว่าสาเหตุเกิดจากการกระทำของผี
ที่มา (เริงฤทธิ์ คงเมือง, 2549, 68-72)


20. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่นชาวมุสลิมร่วมกันทำละหมาดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ พวกเขามาจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก
ที่มา (เบลต์, 2545, 126)


21.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบแบบพึ่งพาอาศัยกัน ตัวอย่างเช่น ช้างและควาญเล่นน้ำในลำห้วยของศูนย์บริบาลช้าง จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือ
ที่มา (แซดวิก, 2548, 56)


22. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน ตัวอย่างเช่นฝูงอูฐในทะเลทรายโกบีระหว่างประเทศจีนกับมองโกเลียในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อูฐเหล่านี้แบกของหนักได้ถึง 200 กก. และอดน้ำได้หลายวัน
ที่มา (เว็บสเตอร์, 2545, 101)

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความเชื่อมโยงระหว่างวิกฤตโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21กับหมู่บ้าน(ระบุชื่อ)ต...อ....จ....

กิจกรรม
1. ที่มุมบนขวามือคลิกบทความใหม่
2. ที่ชื่อเรื่อง คัดลอกชื่อของบทความที่ให้มาวาง
3.ที่เครื่องหมาย...(1)..ให้พิมพ์ข้อความแสดงความเชื่อมโยงระหว่างข้อความในบทความที่ให้กับสภาพปัจจุบันในหมู่บ้านของนักศึกษา โดยพิมพ์เลขหมายตามลำดับในบล็อกบันทึกงานของนักศึกษา
4. ปรับแต่งบล็อกบันทึกงาน โดยคลิกดูที่
การปรับแต่งบล็อกบันทึกงาน

ภาพสำหรับศตวรรษที่ 21
มนุษย์ทุกกลุ่มล้วนมีชีวิตอยู่ในชุมชนสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกัน โดยมีส่วนในทรัพยากรและพิบัติภัยเหมือนกันหมด ภาพสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เด่นชัดจะพิจารณา 4 ด้าน ดังนี้
1. ประชากร เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ยากจน…(1)…..
2. การพัฒนาเศรษฐกิจ ช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวยกับยากจนยังคงกว้างออกอย่าง
ต่อเนื่อง พยายามพัฒนาระบบบริโภคเป็นแบบตะวันตก ความสามารถในการเพิ่มผลผลิตของประเทศยากจนไม่เพิ่มขึ้น ทรัพยากรลดลง...(2).....
3. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มองเป็นภาพรวมได้ 4 ด้าน ดังนี้
3.1 ดิน แห้งแล้งในประเทศยากจน...(3).....
3.2 ป่าไม้ ถูกทำลายเปลี่ยนแปลง...(4).......
3.3 อากาศ มลพิษเพิ่มขึ้น..(5)....
3.4 น้ำ ขาดแคลนปริมาณน้ำจืด....(6).......
4. การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การขยายเป็นเมืองใหญ่ขึ้นและพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ถูกแทนที่ด้วยพื้นที่ชานเมือง...(7)...... ในประเทศกำลังพัฒนามีการแย่งชิงที่ดิน...(8)...... การละทิ้งที่ดิน และการอพยพจึงเป็นเรื่องปกติ..(9)...........

ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา พิจารณาใน 6 ด้าน ดังนี้
1. การพัฒนา ใช้วิธีการพัฒนาแบบยั่งยืน...(10)....... ส่งเสริมใช้พลังงานทางเลือก....(11)........
2. ผลผลิตทางเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ในทางการเงินสูงที่สุด.....(12)........
3. ความหนาแน่นของกิจกรรมในเมือง วัดได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น ปริมาณพื้นผิวที่ ปกคลุมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก…(13)…. หรือวัดจากจำนวนแรงงานและอาชีพ....(14)...... หรือวัดจากการใช้พลังงาน....(15)....... หรือวัดจากปริมาณสิ่งปฏิกูล....(16)............
4. การแบ่งกลุ่มประเทศ อยู่บนพื้นฐานของระดับเศรษฐกิจและลักษณะคุณภาพชีวิตสำหรับประชากรโดยทั่วไปของประเทศนั้นๆ พิจารณาเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
4.1 กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มีลักษณะบางประการ ดังนี้
4.1.1 ประเทศในกลุ่มนี้มีผลผลิตสูง...(17).........
4.1.2 ใช้ทรัพยากรปริมาณมากสิ้นเปลืองกว่ากลุ่มอื่น....(18).............
4.1.3 รายได้สูง …(19)……..
4.1.4 การเพิ่มจำนวนประชากรในอัตราคงที่หรือช้าลง...(20)....... และจำนวนลูกน้อย...(21)...
4.2 กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา มีลักษณะบางประการ ดังนี้
4.2.1 ประเทศในกลุ่มนี้พื้นที่ชนบทเป็นลักษณะเด่น..(22)........
4.2.2 จำนวนประชากรต่ำกว่าเส้นยากจนตั้งแต่ร้อยละ 10-25 ....(23)......
4.2.3 จำนวนลูก 1-3 คนต่อครอบครัว อัตราการเพิ่มจำนวนประชากรเป็นไปอย่างช้าๆไม่เกินร้อยละ 2 ..(24)........
4.2.4 อายุของประชากรไม่ยืน มีอายุเฉลี่ยไม่ถึง 75 ปี แต่อายุเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 50 ปี....(25)......
4.3 กลุ่มประเทศด้อยพัฒนา มีลักษณะบางประการ ดังนี้
4.3.1 ประเทศในกลุ่มนี้กำลังสูญเสียพื้นดินทุกปี .(26).........
4.3.2 สภาพการเมืองไม่มั่นคง อยู่ภายใต้ความขัดแย้ง....(27)......

ความสามารถของโลกต่อการสนองตอบความต้องการของมนุษย์ สำเร็จก็ต่อเมื่อมนุษย์สามารถสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างมนุษย์และทรัพยากร ...(28).......

บทบาทของมนุษย์ในชุมชนสิ่งแวดล้อมโลก
1. ผู้บริโภค เป็นผู้สร้างระบบเศรษฐกิจ เป็นผู้สั่งการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตของเสีย และการรบกวนระบบนิเวศ ..(29)........
2. ผู้นำ เราเป็นผู้นำคนหนึ่ง ทุกอาชีพล้วนเป็นสมาชิกและผู้นำของชุมชน ทิศทางที่เราทำและคุณค่าที่เราแสดงออกจะทำให้คนอื่นทำตาม ...(30).......
3. ครู เราเป็นครูคนหนึ่ง สามารถสอนคนอื่นๆในการเลือกวิธีการใช้ชีวิต การบริโภค และการลงมติในสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ....(31)......
4. ผู้ตัดสินใจ เราเป็นผู้ตัดสินใจคนหนึ่ง สามารถกำหนดทิศทางแนวความคิดในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างสังคมด้วยกันร่วมกับสิ่งแวดล้อม ที่ต้องคำนึงถึงการสร้างตัวเลือกให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ด้วยคุณภาพที่สมเหตุผล ....(32)......