วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอกสารคำสอน



สัปดาห์ที่15

กิจกรรม
เปิดดูคลิป 2 เรื่องที่กำหนดข้างล่างนี้ สังเกตพฤติกรรมและเขียนบรรยายพฤติกรรมที่ท่านน้อมนำเข้ามาใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตของท่านได้ พร้อมอธิบายว่านำไปใช้อย่างไร




สัปดาห์ที่14
เปิดดูคลิปที่กำหนดข้างล่างนี้ แล้วคัดลอกข้อความ ที่ท่านจะเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตได้ โดยเขียนหมายเลขระยะเวลาที่ปรากฏข้อความนั้น เช่น 1:31-1:80 พร้อมเขียนคำอธิบายว่าจะนำไปใช้อย่างไร



เอกสารคำสอนบทที่1-10

บทที่10 การจัดการมลพิษ


แผนบทที่10

บทที่9 การกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อภูมิอากาศ บรรยากาศ น้ำ และดิน

แผนบทที่9

บทที่8 การกระทำของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่า และป่าไม้

แผนบทที่8

บทที่7 การกระจายและการเพิ่มจำนวนมนุษย์

แผนบทที่7

บทที่6 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาและความยั่งยืน การเสนอแนะแนวทางออกปัญหาสิ่งแวดล้อม

แผนบทที่6

บทที่5 การกระจายของระบบนิเวศธรรมชาติในประเทศไทย

แผนบทที่5

บทที่4 การกระจายของระบบนิเวศโลก

แผนบทที่4

บทที่3 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

แผนบทที่3

บทที่2

แผนบทที่2

บทที่1

แผนบทที่1

แผนบริหารการสอนประจำวิชา

คำนำ

บรรณานุกรม

สัปดาห์ที่13

ตอนที่1 เปิดฟังคลิปที่กำหนดข้างล่างนี้ แล้วคัดลอกข้อความ ที่ท่านเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตได้ โดยมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 บรรทัด


ตอนที่2 ตอบคำถามบทที่9

1. พิจารณารูปที่ 9.1 - 9.9 แล้วนึกถึง 1 ข้อความในแต่ละรูป ไม่ซ้ำกัน
2. ขีดเส้นใต้หมายเลขรูปหรือหมายเลขหัวข้อและข้อความ
3. ค้นรายละเอียดข้อความนั้นจากกูเกิลและเขียนรายละเอียด เขียนURLที่ปรากฏในกูเกิล
4. ความยาวของรายละเอียดไม่น้อยกว่า 4 บรรทัดเต็ม โดยไม่รวมURL

ตัวอย่างเช่น

1. รูปที่ 9.1 ความตาย การเผชิญความตายอย่างสงบ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายดายที่เราจะคิดและทำให้จิตสงบได้ในทันทีทันใด เพราะในทัศนะของเราความตายเป็นสิ่งที่จะมาพรากเอาทุกอย่างที่รักและมีอยู่ไป ไม่มีอะไรที่เราจะยึดเอาไว้ได้อีกต่อไป แม้แต่ร่างกายและตัวตนของเรา ดังนั้นเราจำต้องฝึกฝนและลงมือสร้างปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อความมั่นคงทางใจให้ถึงพร้อม อย่างไรก็ตาม การตายอย่างสงบก็ไม่ใช่เรื่องที่ยาก


สัปดาห์ที่12
คำถามบทที่8

1. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข5 หัวข้อ1. การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต จาก1.1-1.5 เลือก 1 ด้าน เช่น 1.4 มลพิษทางน้ำ ขีดเส้นใต้ ค้นรายละเอียดและเขียนURL

2. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข8 หัวข้อ3. การอ้างสิทธิบัตร จาก3.1-3.4 เลือก 1 ด้าน เช่น 3.3 ข้าวหอมมะลิ ขีดเส้นใต้ ค้นรายละเอียดและเขียนURL

3. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข11 หัวข้อ5. การค้าขายพืช สัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากป่าอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย จาก5.1-5.4 เลือก 1 ด้าน เช่น 5.1 กรณีงาช้าง ขีดเส้นใต้ ค้นรายละเอียดและเขียนURL

4. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข19 ดูรูปที่8.14 เลือก 1 ข้อความจากคำอธิบายใต้รูป เช่น พนมกรอล ค้นรายละเอียดและเขียนURL

5. ที่่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข21 ดูรูปที่8.16 เชื่อมโยงถึงอะไร เพราะอะไร

6. ที่่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข22 ดูรูปที่8.17 เชื่อมโยงถึงอะไร เพราะอะไร

7. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข24 ดูรูปที่8.18 เลือก 1 ข้อความจากในรูป เช่น นิ่ม ค้นรายละเอียดและเขียนURL

8. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข27 เลือก 1 ข้อความจากข้อ4.4.1 เช่น ดงพญาเย็น ค้นรายละเอียดและเขียนURL

9. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข27-28 เลือก 1 ข้อความจากข้อ4.4.2 เช่น ทุ่งใหญ่นเรศวร ค้นรายละเอียดและเขียนURL

10. ที่ช่องซ้ายมือคลิกหมายเลข29 จาก5.1-5.5 เลือก 1 ด้าน เช่น 5.5 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ขีดเส้นใต้ ค้นรายละเอียดและเขียนURL

คำถามบทที่6
1. เปิดหน้าเว็บที่4 หรือเอกสารหน้า 156 หัวข้อองค์ประกอบสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มี 4 ด้าน ให้ระบุหมายเลข 1 ด้านและขีดเส้นใต้หมายเลขนั้น เลือก 1 ข้อความ ขีดเส้นใต้ข้อความนั้น นำข้อความไปค้นรายละเอียดจากกูเกิล เขียนรายละเอียดให้เต็มรอยพับพร้อมกับขีดเส้นใต้ข้อความที่เลือก เขียนที่อยู่ของเว็บจากการค้นรายละเอียดในกูเกิล
ตัวอย่างการตอบคำถามข้อที่1

1. 1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international relations) เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ประวัติศาสตร์ และสังคมวิทยา
th.wikipedia.org/wiki/ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


แผนบริหารการสอนประจำวิชา
รหัสวิชา 2500104
รายวิชา มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6)
(Man and Environment)
คำอธิบายรายวิชา
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาและความยั่งยืน ประเภทและการกระจายของระบบนิเวศโลกและไทย การกระจายและการเพิ่มจำนวนมนุษย์ การกระทำของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อภูมิอากาศ บรรยากาศ น้ำ ดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่า และป่าไม้ การจัดการมลพิษ การเสนอแนะทางออกปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่สังคมโลกที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์ทั่วไป
1. เพื่อให้ผู้ศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมโดยการอ่านจับประเด็น สังเกต คิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงจากรูปภาพและนำเสนอได้
2. เพื่อให้ผู้ศึกษาฝึกการมองภาพรวมในลักษณะผังความคิด

3. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเรียนรู้และนำเสนอได้

4. เพื่อให้ผู้ศึกษาฝึกสร้างจิตอาสาโดยเชื่อมโยงความรู้กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน
5. เพื่อให้ผู้ศึกษามีวินัย มีคุณธรรม และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
วิธีสอนและกิจกรรม
1. การเช็คชื่อเพื่อสร้างวินัย ตรวจสอบเวลาเรียนซึ่งเวลาเรียนต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของ 16 สัปดาห์ โดยขาดเรียนตั้งแต่ 7 ครั้งไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาค ผลการเรียนเป็น E และดู ความพร้อม ไม่เกิน 15 นาทีก่อนเรียน ได้ 2 คะแนน มาสายเกินกว่านั้นได้ 1 คะแนน
2. มอบหมายแบบฝึกปฏิบัติ โดยศึกษาจาก
คลิปวีดีโอ ซีดี และเอกสาร
การเข้าดูต้องสมัคร ดูวิธีการสมัครเฟซบุ๊ค คลิที่
ถ้ายังไม่มีอีเมล ดูวิธีสมัครจีเมล คลิกที่
3. ก่อนเรียนในแต่ละสัปดาห์จะแจ้งคะแนนแบบฝึกปฎิบัติที่ตรวจแล้ว ถ้ามีข้อแก้ไขให้ทำตามคำแนะนำที่ให้ก่อนทำแบบฝึกปฏิบัติครั้งใหม่
4. การตรวจให้คะแนนแบบฝึกปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ เฉพาะผู้ทำแบบฝึกปฏิบัติในคาบเรียน และส่งตามกำหนด ได้ 2 คะแนน ถ้าขาดเรียนในครั้งใด ไม่ต้องส่งแบบฝึกปฏิบัติย้อนหลัง ยกเว้นกิจธุระจำเป็นตามกรณีโดยปรึกษากับอาจารย์
5. คะแนนเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่โต้ตอบเป็นรายบุคคล ได้ 1 คะแนนต่อครั้ง
6. มอบหมายแบบฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60 และผู้ที่ขาดเรียนตามกรณีอันควรในข้อ 4 โดยให้ทำแบบฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมในคาบเรียนช่วง 2 สัปดาห์ก่อนสอบปลายภาค
7. มอบหมายเป็นรายบุคคล โดยฝึกเป็นผู้ให้กับสิ่งแวดล้อมกับกิจกรรมทำสิ่งดีๆกับใครบ้าง ในช่วงระยะเวลาสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน กรกฏาคม และสิงหาคม โดยเขียนรายละเอียดของกิจกรรมลงในกระทู้ที่กำหนด ที่http://www.facebook.com/bunsom.sungsai
8. ในกรณีมีผู้ที่ต้องการคำแนะนำเพื่อแก้ไขแบบฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม ให้ปรึกษาอาจารย์โดย รับคำแนะนำเป็นรายบุคล
สื่อการเรียนการสอน
1. เว็บไซต์ และคลิปวีดีโอ
2. ซีดีเอกสารและแบบฝึกปฏิบัติ
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้จำนวน 1 เครื่องต่อคน
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผล
1. คะแนนระหว่างภาคเรียน 80 %
1.1 เวลาเรียน 26 %
1.2 แบบฝึกปฏิบัติ 39 %
1.3 การเป็นผู้ให้กับสิ่งแวดล้อม 15 %
2. คะแนนสอบปลายภาค 20 %
การประเมินผล
คะแนนระหว่าง 80-100 ได้ระดับ A
คะแนนระหว่าง 75-79 ได้ระดับ B+
คะแนนระหว่าง 70-74 ได้ระดับ B
คะแนนระหว่าง 65-69 ได้ระดับ C+
คะแนนระหว่าง 60-64 ได้ระดับ C
คะแนนระหว่าง 55-59 ได้ระดับ D+
คะแนนระหว่าง 30-54 ได้ระดับ D
คะแนนระหว่าง 0-29 ได้ระดับ E

ไม่มีความคิดเห็น: