คลิกที่นี่ เรื่อง รู้ไปเสียทุกเรื่องยกเว้น…
คลิปประกอบเอกสาร
1.
2.
3. นาฬิการ่างกาย สุขภาพ
โลกหมุนไปเพราะจินตนาการ(ว.วชิรเมธี อ้างอิงจากพระพุทธเจ้า) จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ (ไอสไตน์)
เห็ดหอมสมัยก่อนน้ำที่นำมาแช่เห็ดหอม เราจะไม่ทิ้งเพราะเก็บน้ำไว้ปรุงอาหาร ผัดหรือต้ม ตุ๋นได้ แต่สมัยนี้ไม่แนะนำ โดยเฉพาะถ้าท่านซื้อเห็ดหอมมาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้ใจ ในงานวิจัยของ สกว. ระบุมีการใช้คาร์บอนไดซัลเฟอร์ชุบเห็ดหอม ซึ่งสารนี้เขาไว้ใช้ล้างสนิมในแวดวงอุตสาหกรรม ยังไม่รวม พวกสารเคมีการเกษตรที่ใช้ในการบำรุงเลี้ยงเจ้าเห็ดหอมด้วย |
|
|
สารตะกั่วมีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์อย่างร้ายแรง ซึ่งร่างกายของเราไม่ควรมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่เลย เพราะถ้าพบสารตะกั่วในเลือดปริมาณมากเกิน 40 mcg./dL ถือว่าอันตรายและจะเกิดพิษ และถ้าระดับสารตะกั่วในเลือดสูงถึง100-150 mcg./dL จะทำให้ร่างกายมีอาการโคม่าและเสียชีวิตทันที | ||||
การสำรวจครั้งนี้มี 10 ประเทศเข้าร่วมโครงการและส่งตัวอย่างสีไปทดสอบหาสารตะกั่วในห้องปฎิบัติการของประเทศอินเดีย ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย เซเนกัล เบลารุส เม็กซิโก และ บราซิล ซึ่งการเก็บตัวอย่างสี (ทั้งสีน้ำและสีพลาสติก) ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 และมีสีที่ถูกทดสอบทั้งหมด 317 ตัวอย่าง มีวิธีการคือให้เจ้าหน้าที่ของ Toxics Link เตรียมตัวอย่างก่อนส่งไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการด้วยการทาสีลงบนแผ่นแก้ว ทิ้งไว้ 72 ชั่วโมงจนแห้ง จากนั้นจึงขูดสีที่แห้งแล้วออกมา เพื่อส่งไปยังห้องปฏิบัติการ Delhi Test House สำหรับประเทศไทยนั้นส่งตัวอย่างสีทั้งหมด 27 ตัวอย่าง เป็นสีน้ำมัน 17 ตัวอย่าง สีพลาสติก 10 ตัวอย่าง ยี่ห้อที่มีการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ทีโอเอ กัปตัน เบเยอร์ โจตัน นิปปอน รัสท์-โอเลียม และ เดลต้า ผลการทดสอบพบว่ามีสีน้ำมันที่มีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm ถึง 8 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 17 ตัวอย่าง และในสีน้ำมันในกลุ่มที่ราคาต่ำกว่า 200 บาท ทุกตัวอย่างมีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 600 ppm โดยมีสีน้ำมันยี่ห้อทีโอเอ เบเยอร์ และ โจตัน มีความเข้มข้นของตะกั่วน้อยกว่าน้อย 90 ppm ทั้งนี้ ไม่มีสีพลาสติกรุ่นใดเลยมีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm (ส่วนในล้านส่วน) | ||||
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยการเลิกใช้สารตะกั่วในสีทาบ้านโดยหันมาใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตรายน้อยกว่าตะกั่วและสามารถนำมาใช้แทนตะกั่วได้ในการผลิตสี การเปิดเผยผลทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังในเรื่องพิษภัยของสารตะกั่ว ที่เป็นภัยเงียบแอบแฝงในที่พักอาศัย หรือบ้านเรือนของเรา แม้ว่าผลการสำรวจสารตะกั่วในสีทาบ้านที่พบของประเทศไทยจะมีไม่มากเหมือนประเทศอื่นๆ นิตยสารฉลาดซื้อในฐานะคู่มือของผู้บริโภคก็จะเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการฯ และหวังว่าจะมีผู้ประกอบการที่ดีและรับผิดชอบต่อสังคมจะเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงการการผลิตตามที่เราเรียกร้องต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ด้าน น.ส.วลัยพร มุขสุวรรณ นักวิจัยอาวุโสด้านสารเคมีและของเสียอันตราย จากมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลของหลายๆ ประเทศเริ่มปรับนโยบาย มาตรการ และแผนงานการจัดการสารเคมีอันตรายต่างๆ ภายในประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไซคัม ตัวยุทธศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ต้องการเน้นให้เกิดการจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสมตลอดวงจรชีวิตของสารเคมีนั้นๆ และมีเป้าหมายร่วมกันในระดับโลกว่า ภายในปี พ.ศ.2563 หรือ ค.ศ.2020 การผลิตและการใช้สารเคมีจะต้องให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งนี่เป็นแนวทางสำคัญที่จะปกป้องสังคมโลกให้ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย |