คลิกที่นี่ เรื่อง ชีวิตกับพิษภัยจะกินอยู่อย่างไรดี
ล้างพิษอย่างไรปัญญาตามความเป็นจริง
https://drive.google.com/file/d/0B24pBhbprz5NclFFdkQ0UkU3Ums/view?usp=sharing
คลิปประกอบเอกสาร
เรื่อง 1. ผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตยั่งยืน
1/2
2/2
เรื่อง 2. ป้าเช็ง สอนปลูกผักไร้สาร
1/2
เรื่อง ฉลาด สุข อิสระและ...ได้อีก
1/2
2/2
1.เรื่องค้านพ.ร.บ./
ข้อมูลเพิ่มเติม
มีผู้รู้ท่านหนึ่งได้กรุณาชี้แนะให้อ่านงานวิจัยค้นคว้าที่มีชื่อว่า "Factors Affecting the Storage and Excretion of Toxic Lipophilic Xenobiotics" โดย Ronal J. Jandacek และ Practick Tso จากภาควิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งซินซิเนติ เมืองซินซิเนติ มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจอยู่มากทีเดียว
เพราะสิ่งที่งานค้นคว้าและวิจัยชิ้นนี้ให้ความสนใจก็คือ Lipophilic toxin ก็คือ สารพิษที่ละลายในไขมัน ได้แก่ ยาฆ่าแมลง สารพิษจากเตาเผาขยะอุตสาหกรรม หรือสารพิษจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า ฯลฯ สารพิษพวกนี้สามารถละลายอยู่ในรูปของไขมันที่อยู่ในร่างกายเราได้ทั้งสิ้น
ที่มา
http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9560000072066
เผยคาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม ไม่ต่างจากเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2012 เวลา 15:01 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ปริมาณคาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม ไม่ต่างกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ย้ำต้องแสดงคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน” บนฉลาก และเข้มงวดเรื่องการควบคุมโฆษณา แบบเดียวกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
วันนี้ (31 ต.ค. 55) ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนภายใต้การสนับสนุนของแผนงานอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยข้อมูลปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลของชาพร้อมดื่มในท้องตลาดจำนวน 23 ตัวอย่าง เปรียบเทียบกับ กาแฟพร้อมบริโภค และเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
ผลการเปรียบเทียบฉลากอาหาร พบว่า เป็นสินค้าที่มีปริมาณคาเฟอีน ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ไม่เหมาะกับเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วย พร้อม วอนหน่วยงานรัฐ (อย.) ปรับกฎหมาย สร้างความเข้มงวด แบบเดียวกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ฯ กล่าวว่า จากกรณี เด็กหญิงวัย 14 เสียชีวิตหลังดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนยี่ห้อมอนสเตอร์ และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (ยูเอสเอฟดีเอ) กำลังสืบสวนการตาย 5 ศพที่อาจเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มยี่ห้อดังกล่าว และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาให้ข่าวว่าไม่พบการจำหน่ายในไทย พร้อมให้ข้อมูลการควบคุมเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ที่ว่า มีการกำหนดปริมาณคาเฟอีนให้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมและมีการควบคุมฉลากโดยบังคับให้ต้องแสดงคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน” บนฉลาก และในเนื้อหาโฆษณาจากทุกสื่อ
ทางโครงการฯ ได้ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบข้อมูลปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลบนฉลากของชาพร้อมดื่ม จำนวน 13 ยี่ห้อ ควบคู่กับกาแฟพร้อมดื่มจำนวน 3 ยี่ห้อ และ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน อีก 3 ยี่ห้อ พบว่า มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่าง 22 – 100 มิลลิกรัม/ขวดหรือกระป๋อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มีปริมาณใกล้เคียงหรือสูงกว่าเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางตัวอย่าง เช่น ชาเย็นพาสเจอร์ไรส์ ตรา พรีโก้ ชาเขียวญี่ปุ่นสูตรต้นตำรับ ตรา บิ๊กซี ชาเขียวญี่ปุ่นรสน้ำผึ้งผสมมะนาว ตรา โออิชิ กรีนที และ ชาดำรสมะนาว ตรา โออิชิ แบล็คที มีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่า 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์
นายพชร กล่าวต่อว่า จากที่เลขา อย. กล่าวในข่าวเพื่อสื่อมวลชนของ อย. ว่า “เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ไม่เหมาะสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่จะดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนควรอ่านคำเตือนในฉลาก ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นกับผู้ดื่มได้” นั้นด้วย
“ข้อมูลจากการเปรียบเทียบฉลากชาและกาแฟพร้อมดื่ม มีปริมาณคาเฟอีนในระดับที่ไม่ต่างกันกับปริมาณคาเฟอีนของเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ดังนั้น อย. จึงควรที่จะมีการควบคุมโดยการแสดงคำเตือนแบบเดียวกันทั้งบนฉลากและในเนื้อหาโฆษณาอันเป็นการบังคับให้แสดงข้อมูลที่เป็นจริงของผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วน ป้องกันผู้บริโภคไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่อาจเกิดจากการบริโภคมากเกินไปอีกด้วย”
วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2012 เวลา 15:01 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ปริมาณคาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม ไม่ต่างกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ย้ำต้องแสดงคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน” บนฉลาก และเข้มงวดเรื่องการควบคุมโฆษณา แบบเดียวกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
วันนี้ (31 ต.ค. 55) ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนภายใต้การสนับสนุนของแผนงานอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยข้อมูลปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลของชาพร้อมดื่มในท้องตลาดจำนวน 23 ตัวอย่าง เปรียบเทียบกับ กาแฟพร้อมบริโภค และเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
ผลการเปรียบเทียบฉลากอาหาร พบว่า เป็นสินค้าที่มีปริมาณคาเฟอีน ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ไม่เหมาะกับเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วย พร้อม วอนหน่วยงานรัฐ (อย.) ปรับกฎหมาย สร้างความเข้มงวด แบบเดียวกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ฯ กล่าวว่า จากกรณี เด็กหญิงวัย 14 เสียชีวิตหลังดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนยี่ห้อมอนสเตอร์ และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (ยูเอสเอฟดีเอ) กำลังสืบสวนการตาย 5 ศพที่อาจเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มยี่ห้อดังกล่าว และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาให้ข่าวว่าไม่พบการจำหน่ายในไทย พร้อมให้ข้อมูลการควบคุมเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ที่ว่า มีการกำหนดปริมาณคาเฟอีนให้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมและมีการควบคุมฉลากโดยบังคับให้ต้องแสดงคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน” บนฉลาก และในเนื้อหาโฆษณาจากทุกสื่อ
ทางโครงการฯ ได้ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบข้อมูลปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลบนฉลากของชาพร้อมดื่ม จำนวน 13 ยี่ห้อ ควบคู่กับกาแฟพร้อมดื่มจำนวน 3 ยี่ห้อ และ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน อีก 3 ยี่ห้อ พบว่า มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่าง 22 – 100 มิลลิกรัม/ขวดหรือกระป๋อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มีปริมาณใกล้เคียงหรือสูงกว่าเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางตัวอย่าง เช่น ชาเย็นพาสเจอร์ไรส์ ตรา พรีโก้ ชาเขียวญี่ปุ่นสูตรต้นตำรับ ตรา บิ๊กซี ชาเขียวญี่ปุ่นรสน้ำผึ้งผสมมะนาว ตรา โออิชิ กรีนที และ ชาดำรสมะนาว ตรา โออิชิ แบล็คที มีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่า 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์
นายพชร กล่าวต่อว่า จากที่เลขา อย. กล่าวในข่าวเพื่อสื่อมวลชนของ อย. ว่า “เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ไม่เหมาะสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่จะดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนควรอ่านคำเตือนในฉลาก ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นกับผู้ดื่มได้” นั้นด้วย
“ข้อมูลจากการเปรียบเทียบฉลากชาและกาแฟพร้อมดื่ม มีปริมาณคาเฟอีนในระดับที่ไม่ต่างกันกับปริมาณคาเฟอีนของเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ดังนั้น อย. จึงควรที่จะมีการควบคุมโดยการแสดงคำเตือนแบบเดียวกันทั้งบนฉลากและในเนื้อหาโฆษณาอันเป็นการบังคับให้แสดงข้อมูลที่เป็นจริงของผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วน ป้องกันผู้บริโภคไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่อาจเกิดจากการบริโภคมากเกินไปอีกด้วย”
เตือนผู้บริโภค! ระวังสารกันบูดในขนมปังพร้อมบริโภค ทานบ่อยเสี่ยงไตพัง
วันพฤหัสบดีที่ 07 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 14:19 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เปิดเผยผลทดสอบสารกันบูดในขนมปัง – เค้ก พร้อมบริโภค จากร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต และร้านเบเกอรี่ จำนวน 14 ตัวอย่าง
พบขนมปังแซนวิชตราเทสโก้ แสดงฉลากลวงอ้างว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่กลับตรวจพบการใช้ร่วมกันในตัวอย่างเดียวถึง 2 ชนิด และพบว่า 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมดมีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐานไทย (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร) และค่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX)
แบ่งเป็นตัวอย่างที่มีฉลากกำกับว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” 1 ตัวอย่าง และ ตัวอย่างที่ฉลากไม่ระบุว่าใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ 5 ตัวอย่าง แล้วส่งทดสอบกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี เพื่อหาสารกันบูดที่อุตสาหกรรมอาหารนิยมใช้ 3 ชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid) ผลการทดสอบพบว่า 1 ใน 3 (5 ตัวอย่าง) มีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐานทั้งค่ามาตรฐานอาหารของไทยและค่ามาตรฐานอาหารสากล [ได้แก่
ขนมปังใส้ถั่วแดง Tesco the Bakery ที่ปริมาณรวม 1,656 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) (แบ่งเป็น กรดซอร์บิก 650 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 1,006 มก./กก.) ,
เค้กโรลวนิลา sun merry ที่ปริมาณ 1,583 มก./กก. (กรดซอร์บิก) ,
ขนมปังแซนวิช Tesco ที่ปริมาณรวม 1,279 มก./กก. (แบ่งเป็น กรดเบนโซอิก 17 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 1,262 มก./กก.) ,
ขนมปังไส้เผือก เอพลัส ที่ปริมาณรวม 1,274 มก./กก. (แบ่งเป็น กรดเบนโซอิก 15 มก./กก. กรดซอร์บิค 339 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 1,262 มก./กก.) , และ
ขนมปังไส้กรอกคู่ เบเกอร์แลนด์ ที่ปริมาณรวม 1,195 มก./กก. (แบ่งเป็นกรดเบนโซอิก 311 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 884 มก./กก.)] อีกทั้งยังพบว่าหนึ่งในตัวอย่างที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน (ขนมปังแซนวิชตราเทสโก้) มีการแสดงฉลากลวง โดยอ้างว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” บนฉลาก
นายพชร กล่าวต่อว่า ตัวอย่างเกือบทั้งหมดที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน เข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (3) เรื่องอาหารผิดมาตรฐานมีบทลงโทษตามมาตรา 60 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ขณะที่มีหนึ่งตัวอย่างคือ ขนมปังแซนวิช Tesco ที่เข้าข่ายการกระทำผิดมาตรา 25 (2) เรื่องอาหารปลอม มีบทลงโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
นายพชร ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่ของสินค้าที่นำมาทดสอบเป็นตัวอย่างที่ระบุบนฉลากว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” และเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมาย อย. และเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ซึ่งควรเป็นไปตามมาตรฐาน แต่ก็พบว่า มีถึง 3 ตัวอย่าง (จาก 8 ตัวอย่าง) ที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน อีกทั้งยังพบการใช้สารกันบูดหลายชนิดร่วมกันอีกหลายตัวอย่างซึ่งมีทั้งเป็นไปตามมาตรฐานและสูงกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวล อย. ควรมีการทบทวนเรื่องการออกใบอนุญาต และต่ออายุใบอนุญาต โดยนำข้อมูลการกระทำความผิดมาประกอบการพิจารณา สำหรับการแสดงข้อมูลบนฉลากอาจจะมีการใช้วิธีการเดียวกับวัตถุปรุงแต่งรสอาหารคือกำหนดให้ระบุว่า “ใช้ …..เป็นวัตถุกันเสีย” บนส่วนประกอบเพื่อแสดงความโปร่งใส และเป็นการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาให้กับผู้บริโภค อีกทั้งควรดำเนินการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้เกี่ยวกับการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้องและเหมาะสม
นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ให้ข้อมูลว่าวัตถุกันเสียทั้ง 3 ชนิด ที่ทดสอบเป็นสารเคมีที่อุตสาหกรรมนิยมใช้ แต่ละตัวมีหน้าที่ในการยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารแต่มีฤทธิ์ต่างกัน บางตัวเหมาะสมกับการยับยั้งแบคทีเรีย บางตัวเหมาะกับการยับยั้งเชื้อรา การใช้ให้เหมาะสมถูกต้องกับวัตถุประสงค์จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อจัดลำดับโดยความเป็นพิษต่อร่างกาย กรดเบนโซอิคจะมีความเป็นพิษสูงสุด ตามมาด้วยกรดซอร์บิคและกรดโปรปิโอนิค ซึ่งแม้ว่าร่างกายจะสามารถขับถ่ายสารเคมีทั้งสามตัวออกได้เองเมื่อมีการบริโภค แต่หากมีการรับประทานเข้าไปในปริมาณที่เกินกว่าค่าสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้ต่อวัน (ADI) อย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน และอาจนำมาซึ่งการเพิ่มความเสี่ยงของโรคไตอันเนื่องมาจากการที่ไตต้องทำงานหนักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้
นางสาวทัศนีย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การซื้อขนมอบ (เบเกอรี่) จากระบบอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงจากการใช้สารกันบูดสูงกว่าการซื้อจากร้านเบเกอรี่แบบทำวันต่อวัน ดังนั้น การเลือกซื้อเบเกอรี่ พร้อมบริโภค ให้เลือกซื้อจากร้านเบเกอรี่ที่ทำสดวันต่อวันจะดีกว่าเลือกซื้อเบเกอรี่ที่อยู่ในซอง หรือถ้ายังชื่นชอบความสะดวกของเบเกอรี่แบบซอง (เพราะหาร้านง่ายกว่า) ให้สังเกตคำว่า “ไม่ใช่วัตถุกันเสีย” บนฉลากตรงส่วนประกอบ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้บริโภคผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกวัน เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงเรื่องสารกันบูดแล้วยังมีความเสี่ยงจากโซเดียมซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลัก (ผงฟู) อันอาจนำมาซึ่งโรคไตได้
เห็ดหอมสมัยก่อนน้ำที่นำมาแช่เห็ดหอม เราจะไม่ทิ้งเพราะเก็บน้ำไว้ปรุงอาหาร ผัดหรือต้ม ตุ๋นได้ แต่สมัยนี้ไม่แนะนำ โดยเฉพาะถ้าท่านซื้อเห็ดหอมมาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้ใจ ในงานวิจัยของ สกว. ระบุมีการใช้คาร์บอนไดซัลเฟอร์ชุบเห็ดหอม ซึ่งสารนี้เขาไว้ใช้ล้างสนิมในแวดวงอุตสาหกรรม ยังไม่รวม พวกสารเคมีการเกษตรที่ใช้ในการบำรุงเลี้ยงเจ้าเห็ดหอมด้วย
เผยผลทดสอบสีจาก 10 ประเทศพบตะกั่วเพียบ
โดย Uncle fat 29 สิงหาคม 2552 11:55 น.
สารตะกั่วมีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์อย่างร้ายแรง ซึ่งร่างกายของเราไม่ควรมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่เลย เพราะถ้าพบสารตะกั่วในเลือดปริมาณมากเกิน 40 mcg./dL ถือว่าอันตรายและจะเกิดพิษ และถ้าระดับสารตะกั่วในเลือดสูงถึง100-150 mcg./dL จะทำให้ร่างกายมีอาการโคม่าและเสียชีวิตทันที
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง ก็คือ เด็กซึ่งเป็นวัยที่มีความทนทานต่อพิษตะกั่วต่ำที่สุด เพราะถ้าสารตะกั่วเข้าไปในร่างกายแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะก่อให้เกิดพิษร้ายแรง หรือเกิดการสะสมเป็นผลระยะยาวทำให้สติปัญญาเสื่อมได้
การสำรวจครั้งนี้มี 10 ประเทศเข้าร่วมโครงการและส่งตัวอย่างสีไปทดสอบหาสารตะกั่วในห้องปฎิบัติการของประเทศอินเดีย ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย เซเนกัล เบลารุส เม็กซิโก และ บราซิล ซึ่งการเก็บตัวอย่างสี (ทั้งสีน้ำและสีพลาสติก) ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 และมีสีที่ถูกทดสอบทั้งหมด 317 ตัวอย่าง มีวิธีการคือให้เจ้าหน้าที่ของ Toxics Link เตรียมตัวอย่างก่อนส่งไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการด้วยการทาสีลงบนแผ่นแก้ว ทิ้งไว้ 72 ชั่วโมงจนแห้ง จากนั้นจึงขูดสีที่แห้งแล้วออกมา เพื่อส่งไปยังห้องปฏิบัติการ Delhi Test House
สำหรับประเทศไทยนั้นส่งตัวอย่างสีทั้งหมด 27 ตัวอย่าง เป็นสีน้ำมัน 17 ตัวอย่าง สีพลาสติก 10 ตัวอย่าง ยี่ห้อที่มีการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ทีโอเอ กัปตัน เบเยอร์ โจตัน นิปปอน รัสท์-โอเลียม และ เดลต้า ผลการทดสอบพบว่ามีสีน้ำมันที่มีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm ถึง 8 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 17 ตัวอย่าง และในสีน้ำมันในกลุ่มที่ราคาต่ำกว่า 200 บาท ทุกตัวอย่างมีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 600 ppm โดยมีสีน้ำมันยี่ห้อทีโอเอ เบเยอร์ และ โจตัน มีความเข้มข้นของตะกั่วน้อยกว่าน้อย 90 ppm ทั้งนี้ ไม่มีสีพลาสติกรุ่นใดเลยมีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm (ส่วนในล้านส่วน)
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยการเลิกใช้สารตะกั่วในสีทาบ้านโดยหันมาใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตรายน้อยกว่าตะกั่วและสามารถนำมาใช้แทนตะกั่วได้ในการผลิตสี การเปิดเผยผลทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังในเรื่องพิษภัยของสารตะกั่ว ที่เป็นภัยเงียบแอบแฝงในที่พักอาศัย หรือบ้านเรือนของเรา
แม้ว่าผลการสำรวจสารตะกั่วในสีทาบ้านที่พบของประเทศไทยจะมีไม่มากเหมือนประเทศอื่นๆ นิตยสารฉลาดซื้อในฐานะคู่มือของผู้บริโภคก็จะเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการฯ และหวังว่าจะมีผู้ประกอบการที่ดีและรับผิดชอบต่อสังคมจะเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงการการผลิตตามที่เราเรียกร้องต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
ด้าน น.ส.วลัยพร มุขสุวรรณ นักวิจัยอาวุโสด้านสารเคมีและของเสียอันตราย จากมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลของหลายๆ ประเทศเริ่มปรับนโยบาย มาตรการ และแผนงานการจัดการสารเคมีอันตรายต่างๆ ภายในประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไซคัม ตัวยุทธศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ต้องการเน้นให้เกิดการจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสมตลอดวงจรชีวิตของสารเคมีนั้นๆ และมีเป้าหมายร่วมกันในระดับโลกว่า ภายในปี พ.ศ.2563 หรือ ค.ศ.2020 การผลิตและการใช้สารเคมีจะต้องให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งนี่เป็นแนวทางสำคัญที่จะปกป้องสังคมโลกให้ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย
วันพฤหัสบดีที่ 07 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 14:19 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เปิดเผยผลทดสอบสารกันบูดในขนมปัง – เค้ก พร้อมบริโภค จากร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต และร้านเบเกอรี่ จำนวน 14 ตัวอย่าง
พบขนมปังแซนวิชตราเทสโก้ แสดงฉลากลวงอ้างว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่กลับตรวจพบการใช้ร่วมกันในตัวอย่างเดียวถึง 2 ชนิด และพบว่า 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมดมีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐานไทย (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร) และค่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX)
แบ่งเป็นตัวอย่างที่มีฉลากกำกับว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” 1 ตัวอย่าง และ ตัวอย่างที่ฉลากไม่ระบุว่าใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ 5 ตัวอย่าง แล้วส่งทดสอบกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี เพื่อหาสารกันบูดที่อุตสาหกรรมอาหารนิยมใช้ 3 ชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid) ผลการทดสอบพบว่า 1 ใน 3 (5 ตัวอย่าง) มีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐานทั้งค่ามาตรฐานอาหารของไทยและค่ามาตรฐานอาหารสากล [ได้แก่
ขนมปังใส้ถั่วแดง Tesco the Bakery ที่ปริมาณรวม 1,656 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) (แบ่งเป็น กรดซอร์บิก 650 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 1,006 มก./กก.) ,
เค้กโรลวนิลา sun merry ที่ปริมาณ 1,583 มก./กก. (กรดซอร์บิก) ,
ขนมปังแซนวิช Tesco ที่ปริมาณรวม 1,279 มก./กก. (แบ่งเป็น กรดเบนโซอิก 17 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 1,262 มก./กก.) ,
ขนมปังไส้เผือก เอพลัส ที่ปริมาณรวม 1,274 มก./กก. (แบ่งเป็น กรดเบนโซอิก 15 มก./กก. กรดซอร์บิค 339 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 1,262 มก./กก.) , และ
ขนมปังไส้กรอกคู่ เบเกอร์แลนด์ ที่ปริมาณรวม 1,195 มก./กก. (แบ่งเป็นกรดเบนโซอิก 311 มก./กก. และ กรดโปรปิโอนิค 884 มก./กก.)] อีกทั้งยังพบว่าหนึ่งในตัวอย่างที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน (ขนมปังแซนวิชตราเทสโก้) มีการแสดงฉลากลวง โดยอ้างว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” บนฉลาก
นายพชร กล่าวต่อว่า ตัวอย่างเกือบทั้งหมดที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน เข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (3) เรื่องอาหารผิดมาตรฐานมีบทลงโทษตามมาตรา 60 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ขณะที่มีหนึ่งตัวอย่างคือ ขนมปังแซนวิช Tesco ที่เข้าข่ายการกระทำผิดมาตรา 25 (2) เรื่องอาหารปลอม มีบทลงโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
นายพชร ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่ของสินค้าที่นำมาทดสอบเป็นตัวอย่างที่ระบุบนฉลากว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” และเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมาย อย. และเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ซึ่งควรเป็นไปตามมาตรฐาน แต่ก็พบว่า มีถึง 3 ตัวอย่าง (จาก 8 ตัวอย่าง) ที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน อีกทั้งยังพบการใช้สารกันบูดหลายชนิดร่วมกันอีกหลายตัวอย่างซึ่งมีทั้งเป็นไปตามมาตรฐานและสูงกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวล อย. ควรมีการทบทวนเรื่องการออกใบอนุญาต และต่ออายุใบอนุญาต โดยนำข้อมูลการกระทำความผิดมาประกอบการพิจารณา สำหรับการแสดงข้อมูลบนฉลากอาจจะมีการใช้วิธีการเดียวกับวัตถุปรุงแต่งรสอาหารคือกำหนดให้ระบุว่า “ใช้ …..เป็นวัตถุกันเสีย” บนส่วนประกอบเพื่อแสดงความโปร่งใส และเป็นการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาให้กับผู้บริโภค อีกทั้งควรดำเนินการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้เกี่ยวกับการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้องและเหมาะสม
นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ให้ข้อมูลว่าวัตถุกันเสียทั้ง 3 ชนิด ที่ทดสอบเป็นสารเคมีที่อุตสาหกรรมนิยมใช้ แต่ละตัวมีหน้าที่ในการยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารแต่มีฤทธิ์ต่างกัน บางตัวเหมาะสมกับการยับยั้งแบคทีเรีย บางตัวเหมาะกับการยับยั้งเชื้อรา การใช้ให้เหมาะสมถูกต้องกับวัตถุประสงค์จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อจัดลำดับโดยความเป็นพิษต่อร่างกาย กรดเบนโซอิคจะมีความเป็นพิษสูงสุด ตามมาด้วยกรดซอร์บิคและกรดโปรปิโอนิค ซึ่งแม้ว่าร่างกายจะสามารถขับถ่ายสารเคมีทั้งสามตัวออกได้เองเมื่อมีการบริโภค แต่หากมีการรับประทานเข้าไปในปริมาณที่เกินกว่าค่าสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้ต่อวัน (ADI) อย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน และอาจนำมาซึ่งการเพิ่มความเสี่ยงของโรคไตอันเนื่องมาจากการที่ไตต้องทำงานหนักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้
นางสาวทัศนีย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การซื้อขนมอบ (เบเกอรี่) จากระบบอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงจากการใช้สารกันบูดสูงกว่าการซื้อจากร้านเบเกอรี่แบบทำวันต่อวัน ดังนั้น การเลือกซื้อเบเกอรี่ พร้อมบริโภค ให้เลือกซื้อจากร้านเบเกอรี่ที่ทำสดวันต่อวันจะดีกว่าเลือกซื้อเบเกอรี่ที่อยู่ในซอง หรือถ้ายังชื่นชอบความสะดวกของเบเกอรี่แบบซอง (เพราะหาร้านง่ายกว่า) ให้สังเกตคำว่า “ไม่ใช่วัตถุกันเสีย” บนฉลากตรงส่วนประกอบ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้บริโภคผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกวัน เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงเรื่องสารกันบูดแล้วยังมีความเสี่ยงจากโซเดียมซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลัก (ผงฟู) อันอาจนำมาซึ่งโรคไตได้
เห็ดหอมสมัยก่อนน้ำที่นำมาแช่เห็ดหอม เราจะไม่ทิ้งเพราะเก็บน้ำไว้ปรุงอาหาร ผัดหรือต้ม ตุ๋นได้ แต่สมัยนี้ไม่แนะนำ โดยเฉพาะถ้าท่านซื้อเห็ดหอมมาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้ใจ ในงานวิจัยของ สกว. ระบุมีการใช้คาร์บอนไดซัลเฟอร์ชุบเห็ดหอม ซึ่งสารนี้เขาไว้ใช้ล้างสนิมในแวดวงอุตสาหกรรม ยังไม่รวม พวกสารเคมีการเกษตรที่ใช้ในการบำรุงเลี้ยงเจ้าเห็ดหอมด้วย |
|
|
สารตะกั่วมีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์อย่างร้ายแรง ซึ่งร่างกายของเราไม่ควรมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่เลย เพราะถ้าพบสารตะกั่วในเลือดปริมาณมากเกิน 40 mcg./dL ถือว่าอันตรายและจะเกิดพิษ และถ้าระดับสารตะกั่วในเลือดสูงถึง100-150 mcg./dL จะทำให้ร่างกายมีอาการโคม่าและเสียชีวิตทันที | ||||
การสำรวจครั้งนี้มี 10 ประเทศเข้าร่วมโครงการและส่งตัวอย่างสีไปทดสอบหาสารตะกั่วในห้องปฎิบัติการของประเทศอินเดีย ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย เซเนกัล เบลารุส เม็กซิโก และ บราซิล ซึ่งการเก็บตัวอย่างสี (ทั้งสีน้ำและสีพลาสติก) ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 และมีสีที่ถูกทดสอบทั้งหมด 317 ตัวอย่าง มีวิธีการคือให้เจ้าหน้าที่ของ Toxics Link เตรียมตัวอย่างก่อนส่งไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการด้วยการทาสีลงบนแผ่นแก้ว ทิ้งไว้ 72 ชั่วโมงจนแห้ง จากนั้นจึงขูดสีที่แห้งแล้วออกมา เพื่อส่งไปยังห้องปฏิบัติการ Delhi Test House สำหรับประเทศไทยนั้นส่งตัวอย่างสีทั้งหมด 27 ตัวอย่าง เป็นสีน้ำมัน 17 ตัวอย่าง สีพลาสติก 10 ตัวอย่าง ยี่ห้อที่มีการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ทีโอเอ กัปตัน เบเยอร์ โจตัน นิปปอน รัสท์-โอเลียม และ เดลต้า ผลการทดสอบพบว่ามีสีน้ำมันที่มีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm ถึง 8 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 17 ตัวอย่าง และในสีน้ำมันในกลุ่มที่ราคาต่ำกว่า 200 บาท ทุกตัวอย่างมีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 600 ppm โดยมีสีน้ำมันยี่ห้อทีโอเอ เบเยอร์ และ โจตัน มีความเข้มข้นของตะกั่วน้อยกว่าน้อย 90 ppm ทั้งนี้ ไม่มีสีพลาสติกรุ่นใดเลยมีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm (ส่วนในล้านส่วน) | ||||
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยการเลิกใช้สารตะกั่วในสีทาบ้านโดยหันมาใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตรายน้อยกว่าตะกั่วและสามารถนำมาใช้แทนตะกั่วได้ในการผลิตสี การเปิดเผยผลทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังในเรื่องพิษภัยของสารตะกั่ว ที่เป็นภัยเงียบแอบแฝงในที่พักอาศัย หรือบ้านเรือนของเรา แม้ว่าผลการสำรวจสารตะกั่วในสีทาบ้านที่พบของประเทศไทยจะมีไม่มากเหมือนประเทศอื่นๆ นิตยสารฉลาดซื้อในฐานะคู่มือของผู้บริโภคก็จะเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการฯ และหวังว่าจะมีผู้ประกอบการที่ดีและรับผิดชอบต่อสังคมจะเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงการการผลิตตามที่เราเรียกร้องต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ด้าน น.ส.วลัยพร มุขสุวรรณ นักวิจัยอาวุโสด้านสารเคมีและของเสียอันตราย จากมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลของหลายๆ ประเทศเริ่มปรับนโยบาย มาตรการ และแผนงานการจัดการสารเคมีอันตรายต่างๆ ภายในประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไซคัม ตัวยุทธศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ต้องการเน้นให้เกิดการจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสมตลอดวงจรชีวิตของสารเคมีนั้นๆ และมีเป้าหมายร่วมกันในระดับโลกว่า ภายในปี พ.ศ.2563 หรือ ค.ศ.2020 การผลิตและการใช้สารเคมีจะต้องให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งนี่เป็นแนวทางสำคัญที่จะปกป้องสังคมโลกให้ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย |
นักเก็ต (Nugget) ทำจากอะไรกันแน่? ความลับของนักเก็ต
อ่าน คิดอีกครั้งก่อนสั่งนักเก๊ท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น