วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สารตกค้างในข้าวถุง




ฟ้อง'เชค-คนค้นฅน'-ปูดข่าวข้าวยี่ห้อดังปนเปื้อนสารตกค้าง

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน11 กรกฎาคม 2556 23:39 น.

วานนี้(11 ก.ค.56) นายสุเมธ เหล่าโมราพร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงตราฉัตร แถลงว่า ได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา ที่ได้โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียระบุข้าวไทยมีสารปนเปื้อนโดยได้ระบุเป็นข้าวตราฉัตร ซึ่งการกระทำของนายสุทธิพงษ์ สร้างความเสื่อมเสียให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก จึงได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี ที่สถานีตำรวจห้วยขวาง เมื่อวานนี้ในข้อหาหมิ่นประมาท และละเมิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์



ผู้บริโภคตรวจข้าวถุงพบ “โค-โค่” มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์16 กรกฎาคม 2556 16:39 น.

วันนี้ (16 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวแถลง “ผลทดสอบข้าวสารถุงยี่ห้อไหนไม่มีสารเคมี?” 
ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี และศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ตรวจสารเคมีในข้าวสารบรรจุถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง จากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ยากันรา และสารรมควันข้าวเมทิลโบรไมด์ พบว่า ข้าวสารจำนวน 12 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 26.1 ไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม ได้แก่ ลายกนก-ข้าวหอมมะลิ ข้าวพันดี-ข้าวขาว ธรรมคัลเจอร์-ข้าวหอม รุ้งทิพย์-ข้าวเสาไห้ บัวทิพย์-ข้าวหอม ตราฉัตร-ข้าวขาว ข้าวมหานคร-ข้าวขาว สุพรรณหงส์-ข้าวหอมสุรินทร์ เอโร่-ข้าวขาว ข้าวแสนดี-ข้าวหอมทิพย์ โฮมเฟรชมาร์ท-จัสมิน และชามทอง-ข้าวหอมมะลิ
       
       น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ส่วนอีก 34 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 73.9 พบสารเมทิลโบรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) โดยแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้ 1.ตกค้างน้อยมาก คือน้อยกว่า 0.9 ppm มี 7 ตัวอย่าง ได้แก่ ช้างเผือก-ข้าวเสาไห้ cooking for fun-ข้าวหอมมะลิ ข้าวเบญจรงค์-ข้าวหอมมะลิ แฮปปี้บาท-ข้าวขาว เทสโก ตราคุ้มค่า-ข้าวหอม และ อคส.-ข้าวหอมมะลิ 2.ตกค้างน้อย คือ ระหว่าง 0.9-5 ppm จำนวน 14 ตัวอย่าง ได้แก่ ข่าวอิ่มทิพย์-ข้าวขาว ชาวนาไทย-เสาไห้ ข้าวแสนดี-ข้าวขาว ท็อปส์-หอมมะลิ ตราเกษตร-ข้าวขาวหอม ฉัตรทอง-หอมมะลิ ติ๊กชีโร่-หอมมะลิ หงษ์ทอง-หอมมะลิ บิ๊กซี-หอมปทุม ตราฉัตร-หอมผสม โรงเรียน-หอมมะลิ ฉัตรอรุณ-หอมผสม ปทุมทอง-หอมมะลิ และไก่แจ้เขียว-หอมมะลิ
       
       น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า 3.ตกค้างสูง คือระหว่าง 5-25 ppm จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ พนมรุ้ง-ข้าวขาว ท็อปส์-หอมปทุม คุ้มค่า-เสาไห้ เอโณ่-ข้าวหอม มาบุญครอง-ข้าวขาว ดอกบัว-ข้าวหอมมะลิ และปิ่นเงิน-ข้าวหอม 4.ตกค้างสูง คือระหว่าง 25-50 ppm จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ถูกใจ-ข้าวขาว สุรินทิพย์-หอมมะลิ ดอกบัว-ขาวตาแห้ง ตราดอกบัว-เสาไห้ และข้าวแสนดี-ข้าวหอม และ 5.ตกค้างเกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 50 ppm จำนวน 1 ตัวอย่าง คือข้าวยี่ห้อ “โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา” โดยตกค้างอยู่ที่ 67.4 ppm 











พายุงวงช้างกลางทะเลสาบสงขลา

ตะลึง! ปรากฏการณ์ธรรมชาติ พายุงวงช้างกลางทะเลสาบสงขลา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์21 ตุลาคม 2556 20:15 น.

       พัทลุง - ฮือฮาเกิดพายุงวงช้างก่อตัวขึ้นกลางทะเลสาบสงขลา ตรงบริเวณบ้านแหลมจองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ไม่พบความเสียหายตามเส้นทางพายุ หน.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.พัทลุง เผยเคยเกิดขึ้นแล้วในปี 2553 คาดอากาศในพื้นที่เปลี่ยนแปลง 
      
       วันนี้ (21 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ว่า ได้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดพายุงวงช้างก่อตัวขึ้นกลางทะเลสาบสงขลา ตรงบริเวณบ้านแหลมจองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง นานกว่า 15 นาที โดยกลุ่มพายุหมุนได้ก่อตัวขึ้นเป็นเส้นทางยาวกลางทะเลสาบก่อนเคลื่อนตัวขึ้นมาชายฝังแล้วสลายตัวไปในที่สุด ก่อนที่จะทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของ อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
       ในขณะนี้เบื้องต้นจาการสำรวจเส้นทางพายุพบว่า ยังไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ชาวบ้านแต่อย่างได ด้านนายจำนง กลายเจริญ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.พัทลุง เปิดเผยว่า สำหรับพายุงวงช้างที่เกิดขึ้นในทะเลสาบสงขลาบ้านแหลมจองถนน พบว่า ก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหนึ่งครั้ง เมื่อปลายปี 2553 และมาปีนี้เกิดขึ้นช่วงในระยะเวลาเดียวกัน จึงอาจจะมีการส่งสัญญาณเตือนว่าสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดพัทลุงเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

“สตาร์บัคส์” เหี้ยม! ฟ้อง “สตาร์บัง” ดูที่เจตนา

“สตาร์บัคส์” เหี้ยม! ฟ้อง “สตาร์บัง” ขอศาลสั่งขัง เรียก 3 แสน จ่ายรายเดือนอีก 3 หมื่น


ดูที่เจตนา



คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายดำรงค์ มัสแหละ เจ้าของร้านกาแฟรถเข็นสตาร์บัง (แฟ้มภาพ)

“สตาร์บัคส์” กาแฟระดับโลกเอาจริง! ฟ้องกาแฟรถเข็น “สตาร์บัง” ขอศาลคุ้มครองชั่วคราวสั่งจับและกักขัง 2 พี่น้องเจ้าของร้าน พร้อมเล่นอาญาฟันผิด พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า จ่ายค่าเสียหาย 300,000 บาท พร้อมจ่ายย้อนหลังเดือนละ 30,000 บาท ศาลสั่งไต่สวนคดีแรก 4 พ.ย.นี้ ส่วนคดีที่ 2 นัด 10 ก.พ.57 “บัง” ยันใช้โลโก้อิงศาสนา พร้อมสู้คดี แต่โอดเลี้ยงลูก 6 คน ใช้กินวันชนวันจะจ่ายยังไง
      
       วันนี้ (17 ต.ค.) มีรายงานความคืบหน้ากรณีที่ บ.สตาร์บัคส์ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ เตรียมดำเนินคดีกับร้านกาแฟรถเครื่อง สตาร์บัง ที่ขายอยู่ริมถนนบริเวณหน้า ถ.พระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม.ล่าสุดได้มีรายงานว่า บ.สตาร์บัคส์ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้มีคำสั่งจับกุมและกักขัง นายดำรงค์ มัสแหละ หรือ “บัง” เจ้าของร้านกาแฟรถเข็นสตาร์บัง และนายดำรัส น้องชาย ผู้จะถูกฟ้องที่ 1 และ 2 แล้ว ในคดีหมายเลขดำที่ คค.1/2556 และคดีหมายเลขแดงที่ คค.1/2556 ลงวันที่ 9 ต.ค.ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้นัดไต่สวนในวันที่ 4 พ.ย.นี้ เวลา 13.30 น.
      
       โดยคำร้องของ บ.สตาร์บัคส์ ได้ระบุว่า ก่อนหน้านี้ บ.สตาร์บัคส์ ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้องคดีต่อศาลฯ เมื่อวันที่ 11 ก.ย.และศาลฯ ก็ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้องห้ามมิให้ นายดำรงค์ และพวกใช้เครื่องหมายรูปประดิษฐ์ และคำ STARBUNG COFFEE กับสินค้าเสื้อยืดคอกลมและเสื้อผ้าและกระดาษหุ้มแก้วบรรจุกาแฟหรือเครื่องดื่มที่ขาย รวมทั้งเครื่องหมาย “สตาร์บัง” ที่เป็นพื้นสีเขียว ตัวอักษรสีเข้มตามวัตถุพยาน เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งผู้จะถูกฟ้องทั้ง 2 ได้รับหมายห้ามชั่วคราวของศาลแล้ว แต่หาได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลไม่ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าว
      
       นอกจากนี้ บ.สตาร์บัคส์ ยังได้ยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในคดีอาญา หมายเลขดำที่ อ.4019/2556 ด้วย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งไต่สวนมูลฟ้อง วันที่ 10 ก.พ.2557 เวลา 09.00 น.โดยฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้า พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม.109, 110 ขอศาลให้สั่งห้ามไม่ให้จำเลยกระทำการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าและการบริการของโจทก์ต่อไป ให้ยุติการเลียนและยุติจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียน ให้ริบสินค้าที่เลียนและให้ทำลายสินค้าดังกล่าว โดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ให้ร่วมกันชำระเงินจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะยุติการละเมิด และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์
      
       ทั้งนี้คำฟ้องระบุว่า โจทก์ประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟและชาที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยมีสาขามากกว่า 18,000 สาขา ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและการบริการคำว่า STARBUCK และ STARBUCKS และรูปคนประดิษฐ์ในวงกลมพื้นสีเขียว ได้จดทะเบียนการค้าไว้ทั่วโลกรวมทั้งไทย และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจนสาธารณะทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี
      
       ส่วนจำเลยที่ 1 และ 2 ประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีกาแฟและชาเป็นส่วนผสม โดยมีรถเข็นจำหน่ายอยู่บริเวณหน้าบ้านพระอาทิตย์ เหตุที่ต้องฟ้องเนื่องจากเมื่อประมาณเดือน ก.ย.55 - ปัจจุบัน ได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยทำเครื่องหมาย “สตาร์บัง” มีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า “สตาร์บัคส์” โดยโจทก์ได้ส่งหนังสือเตือนเมื่อ 17 ต.ค.55 แต่จำเลยกลับกระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิ์มากยิ่งขึ้น โดยการผลิตรูปลอกและปลอกหุ้มแก้วกาแฟและเสื้อผ้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้ามีความเกี่ยวข้องกับสตาร์บัคส์ โจกท์จึงได้มีหนังสือเตือนอีกครั้ง แต่นายดำรงค์ กลับเรียกร้อง และข่มขู่ให้ชำระค่าตอบแทนเป็นเงิน 3,000,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้ปฏิเสธ และทำให้นายดำรงค์ ไม่พอใจเป็นอย่างมาก
      
       นอกจากนี้โจทก์ยังได้ร้องขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา เชิญ นายดำรงค์ เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท แต่นายดำรงค์ กลับข่มขู่เจ้าหน้าที่และปฏิเสธที่จะไกล่เกลี่ย โดยมุ่งหวังที่จะให้ใช้มาตรการทางอาญาที่รุนแรง เพื่อให้สื่อสารมวลชนที่ติดตามการดำเนินคดีนำข่าวสู่สาธารณชน เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง ในขณะที่จำเลยได้รับประโยชน์ แต่โจทก์กลับต้องได้รับความเสียหายจากบุคคลที่ยังไม่รู้สตาร์บัคส์ อาจจะสับสนหลงผิดว่าสินค้าสตาร์บัง มีความเกี่ยวข้องกัน ขณะที่ลูกค้าก็อาจเสื่อมความนิยมเชื่อถือในคุณภาพสินค้า โจทก์ได้พยายามทุกวิถีทางให้ข้อพิพาทยุติลงโดยไม่จำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งหากจำเลยทั้ง 2 ยังคงดำเนินการต่อไป ย่อมจะนำมาซึ่งความเสียหายที่ไม่อาจประมาณการและใหญ่หลวงแก่สตาร์บัคส์
      
       การกระทำของจำเลยนับเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ในชั้นนี้ จากการละเมิดเลียนแบบเครื่องหมายการค้า และค่าใช้จ่ายในการบังคับสิทธิในเครื่องหมายการค้า เพียง 300,000 บาท และขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอีกเป็นรายเดือนๆ ละ 30,000 บาท นับแต่วันที่ฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายที่พิพาท
      
       ขณะที่ นายดำรงค์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ ระบุว่า ก่อนหน้านี้ทนายของทาง บ.สตาร์บัคส์ ได้เจรจาเพื่อขอยกเลิกชื่อ “สตาร์บัง” แต่ตนก็ไม่ยอม ทั้งนี้ตนได้มีการแก้ไขให้ตั้งแต่วันแรกที่ทางทนายได้ยื่นหนังสือเตือนมา โดยเครื่องหมายการค้าที่ตนใช้นั้นได้อิงตามหลักศาสนาอิสลามที่ตนนับถือ ทั้งสีเขียวพื้นหลัง โลโก้รูปดาวกับเดือน เครื่องหมายฮาลาล และชื่อบังที่มาจากภาษามลายู อีกทั้งตนก็ไม่ได้ใช้คำว่าบัคส์ ตนจึงสงสัยว่าตนผิดตรงไหน อักษรที่ใช้ก็มีลักษณะไม่เหมือนกัน ถ้าก๊อบปี้ (ลอกเลียนแบบ) แล้วมันต้องเหมือนเป๊ะ อันนี้ไม่ใช่ แถมไม่ให้ใช้โลโก้ภาษาไทยด้วยมันก็ละเมิดสิทธิ์ตนเกินไป ส่วนกรณีที่คำฟ้องอ้างว่าตนได้มีการข่มขู่เรียกค่าเสียหายจำนวน 3 ล้านบาทนั้น ตนเพียงแค่บอกว่าถ้าจะขอให้ตนยกเลิกเครื่องหมายการค้าตนก็ขอขายกิจการให้ทั้งหมดเป็นเงิน 3 ล้านบาท
      
       ส่วนที่มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 300,000 บาท และจ่ายรายเดือนอีกเดือนละ 30,000 บาท นั้น นายดำรงค์ กล่าวว่า ตนใช้วันกินวัน เลี้ยงลูก 6 คน จะมีให้ได้ยังไง ขายแก้วละ 20-30 บาท รายได้ปีนึงยังไม่เท่ากับวันนึงของเขาเลย กาแฟ ชา ของเรากับเขาก็คนละอย่าง ไม่ได้ซื้อเครื่องมาใช้เหมือนเขา ขณะที่การดำเนินคดีก็ยังคงต่อสู้ต่อไป
       

       
       

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

น้ำมันรั่ว เกาะเสม็ด




เช้ามืดของวันที่ 26 ก.ค.2556 เป็นปฐมบทของข่าวน้ำมันดิบกว่า 50,000 ลิตร รั่วไหลลงสู่ทะเลใกล้ชายฝั่งมาบตาพุด จ.ระยอง ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี (บริษัทในเครือ ปตท.) ที่เริ่มปรากฏต่อสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ข้อมูลจากแหล่งข่าวท่านหนึ่งยืนกร้านว่า ทางผู้บริหารพยายามปกปิดข้อมูลต่อสาธารณะชน
       
        เรื่องแรก ที่ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตถึงการปกปิดข้อเท็จจริง คือ น้ำมันดิบรั่วล่วงเลยมากว่า 7 ชม. ก่อนเป็นข่าวครึกโครม 
        เรื่องที่สอง ในเวลาถัดมา ผู้บริหาร พีทีทีจีซี ได้ให้สัมภาษณ์อย่างหนักแน่น กลายๆ ว่า ..เหตุการณ์ดังกล่าวควบคุมได้แล้ว ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง.. 
       
        แต่วันรุ่งขึ้น! ภาพข่าวที่แพร่สะพัดไปทั่วโลกกลับตรงกันข้าม กับบทสัมภาษณ์โลกสวยของผู้บริหารฯ เพราะคราบน้ำนับดิบจำนวนมหาศาลลุกล้ำเข้ามายังบริเวณ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง น้ำทะเลถูกกลืนด้วยคราบดำตกอยู่ในภาวะวิกฤติเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสงสัยถึงปริมาณน้ำมันที่รั่วออกมา 50,000 ลิตร ดังที่มีได้ให้ข้อมูลจริงหรือไม่ เพราะขัดแย้งกับปริมาณที่ประเมินด้วยสายตาเสียกระไร 
       
        เหตุการณ์น้ำมันรั่วในครั้งนี้ ถือเป็นหายนะต่อธรรมชาติต่อระบบนิเวศในบริเวณใกล้เคียง กระทบคุณภาพความเป็นอยู่ของประชนชนในพื้นที่ กระทบอย่างรุนแรงในเรื่องของการท่องเที่ยวเกี่ยวโยงไปถึงเศรษฐกิจระดับชาติ
       
        ในเรื่องการดำเนินการแก้ไขเห็นได้ชัดว่ายังขาดประสิทธิภาพ จะว่าไปนี่ก็ไม่ใช่เหตุการณ์น้ำมันรั่วลงทะเลครั้งแรกในประเทศไทย ก่อนหน้าเคยมีบทเรียนมาแล้วแต่ทำไมการจัดการยังหละหลวม ยังทำได้เพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ใช้ลมปากพูดกลบเกลื่อนหายนะที่กำลังเกิดขึ้น
       
        กลิ้งไว้ก่อน พีทีทีจีซี (ปตท. สอนไว้) 
        “คำชี้แจงของผู้บริหาร พีทีทีจีซี กรณีน้ำมันรั่ว เขาบอกเสร็จเรียบร้อย น้ำทะเลใสเหมือนเดิมแล้ว บอกเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 56 รุ่งขึ้นวันที่ 29 ก.ค.56 น้ำมันเข้าอ่าวพร้าวทะเลฟ้าใสกลายเป็นทะเลดำ แล้วต่อไปข้อมูลจากบริษัทนี้จะได้รับความเชื่อถือได้อย่างไร” ข้อความจากเฟซบุ๊กเพจ สายตรงภาคสนาม
       
        เรียกว่าสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นนั้นไกลลิบกับคำกล่าวอ้างของผู้บริหาร งานนี้โดนธรรมชาติตีแสกหน้าเจ้าตัว อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอลฯ จึงออกมาชี้แจ้งน้อมรับความผิดพลาดโดยยอมจำนนด้วยหลักฐาน
       
        “ผมในฐานะผู้บริหารสูงสุดของพีทีที โกลบอลฯ ขอยอมรับผิดต่อสังคมและเสียใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสร้างความสับสนว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันที่มีน้ำมันดิบบางส่วนไปถึงเกาะเสม็ด บริษัทพร้อมที่จะรับผิดชอบ”




น้ำมันรั่ว เกาะเสม็ด  ระยอง-ปตท.เหตุน้ำมันรั่ว

น้ำมันรั่ว เกาะเสม็ด เจาะข่าวเด่นสัมภาษณ์ผู้ว่าฯ ระยอง-ปตท.เหตุน้ำมันรั่ว



เจาะข่าวเด่น

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ ThaiTV19 สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม

          เป็นเรื่องที่น่าวิตกไม่น้อยเลยทีเดียว...สำหรับกรณีที่ท่อน้ำมันดิบกลางทะเลของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. เกิดรั่วไหล เมื่อช่วงเช้าวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ส่งผลให้น้ำมันดิบจำนวน 5 หมื่นลิตร ไหลลงสู่ทะเลระยอง โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดพ่นสารเคมี เพื่อสลายคราบน้ำมัน แต่ก็ไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์เมื่อยังมีคราบน้ำมันเล็ดลอดใต้ทุ่น บวกกับกระแสคลื่นลมแรง ทำให้คราบน้ำมันทะลักเข้ามายังชายฝั่งอ่าวพร้าว ก่อนที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง จะประกาศให้อ่าวพร้าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติทางทะเล 



เคยเห็นแต่ในค่างประเทศ  ไม่นึกไม่ฝันว่าภาพนี้จะมีวันเกิดขึ้นในไทยได้  ไม่แน่!ในทุกสิ่ง

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผวจ.ระยอง พร้อมด้วยนายพรเทพ บุตรนิพัทธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทหารจากกองพันทหารราบที่ 7 จ.ระยอง และหน่วยนาวิกโยธิน สัตหีบจ.ชลบุรี กว่า 300 นายเพื่อเร่งกำจัดคราบน้ำมันที่ทะลักเข้าอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จนทะเลดำเป็นสีดำทั้งหาด ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ส่งผลกระทบการท่องเที่ยวรีสอร์ตปิดร้าง ไร้เงานักท่องเที่ยว


การเฝ้าระวังชายฝั่ง พบกลุ่มคราบน้ำมันประมาณ 500 ตารางเมตร เคลื่อนตัวมาตามกระแสลม ห่างเกาะเสม็ดประมาณ 2 กิโลเมตร จึงเร่งให้กลุ่มบริษัท ปตท. นำทุ่นไปสกัดกั้นคราบน้ำมัน





เผยแพร่เมื่อ 6 ต.ค. 2013
น้ำอาจจะ "ใส" แล้ว แต่ผลกระทบในพื้นที่ทะเลระยองรวมถึงบริเวณ­­ใกล้เคียงยังคงมีอยู่จริง และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ (ซึ่งย่อมกระทบต่อมนุษย์ในที่สุด) ไม่สามารถหายไปในระยะเวลาสั้นๆ ได้

เริ่มต้นด้วยการพูดความจริง เปิดเผยข้อเท็จจริง เพื่อร่วมกันหาหนทางเยียวยาแก้ไขให้ถูกจุด รวมถึงหาทางป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั­­้งในระยะสั้นและระยาว


วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สาเหตุน้ำท่วมปราจีนบุรีในปี 56



การเมืองเรื่องน้ำท่วม “ไอ้โม่ง” สั่งเปิด-ปิดประตูน้ำ!?!
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น










เมื่อเรื่อง “การผันน้ำ” ไม่ใช่แค่เรื่องการวางแผนและจัดการเพียงอย่างเดียว แต่มี “ผลประโยชน์” เข้ามาเกี่ยวข้อง สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้จึงน่าเป็นห่วงไม่ต่างไปจากปีก่อนๆ ส่วนข้อสงสัยที่ว่าจังหวัดไหน-พื้นที่ใดจะท่วมมั้ย ก็ขึ้นอยู่กับว่า “อำนาจ” อยู่ในมือใคร และใครคือ “ไอ้โม่ง” ที่สั่งการนายประตูให้เปิดหรือปิด
      
       

      
       คุมประตู-คุมอำนาจ
        “ของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับว่าใครมีอำนาจสั่งการ เขาก็สั่งให้น้ำมันไปทางนู้นทางนี้ ให้มันหันซ้ายหันขวา ปีนึงก็ให้หันขวาไปซีกตะวันตก ปีนี้ก็บอกให้หันซ้ายเข้ามาทางตะวันออก ถามว่าปล่อยให้น้ำท่วมมันจะดีได้ยังไง ก็คิดดูถ้าน้ำไม่ท่วมที่ไหนเลย งบประมาณที่จะเอามาจัดจ้างการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านก็ตกไป เดี๋ยวนี้สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นวิกฤตที่เราสร้างขึ้น เพื่อจะหาโอกาสจะวิกฤตที่มันเกิดทั้งนั้นแหละคุณไม่ชอบเหรอควบคุมคนนั้นคนนี้ได้” ผศ.ยงยุทธ จรรยารักษ์ นักธรรมชาติวิทยา อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์เอาไว้อย่างตรงไปตรงมา หลังเสวนา “วิชาอะไร #38 ตอน ใครทำน้ำท่วม” ที่จัดขึ้น
       

        “จริงๆ แล้วปีนี้ น้ำมันน้อยนะ น้ำไม่ได้เยอะ แต่เริ่มท่วมแล้ว ส่วนสาเหตุที่ท่วมก็เพราะเขาไม่ยอมให้น้ำไหลไปตามปกติ ปิดประตูเอาไว้ มันก็เลยท่วมเฉพาะจุด ทีนี้พอทางจังหวัดนู้นปิด ทางจังหวัดนี้ก็ปิดบ้าง น้ำมันก็เลยไม่รู้จะไหลไปทางไหน แต่ถ้าเราเปิดประตู้น้ำ ให้น้ำมันอยู่อย่างอิสระเหมือนเดิม เชื่อมั้ยว่าปริมาณน้ำ ณ วันนี้ที่เราบอกว่าน้ำท่วมๆ มันจะสูงแค่ 20 ซม.จากพื้น
       

        ง่ายๆ ลองกลับไปเทียบปีแห่งความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ 2554 ที่เห็นว่าท่วมหนักจนแทบรับไม่ไหว แท้จริงแล้วจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นเลย ถ้านายประตูน้ำรู้จักกักน้ำเมื่อควรกักและปล่อยในเวลาที่เหมาะสม “พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามัน 2 แสนกว่าไร่ แล้วปริมาณน้ำมันมีแค่ไม่กี่หมื่นลูกบาศก์เมตรเอง ถ้าปล่อยน้ำให้กระจายทั่ว น้ำก็จะสูงแค่นิดเดียว” หลักฐานเพิ่งปรากฏให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้เอง ยกตัวอย่างที่กบินทร์บุรี น้ำท่วมเพราะไม่ยอมเปิดประตูระบายตั้งแต่แรก
       

        “ที่กบินทร์บุรี น้ำท่วมเป็นปกติ แต่รอบนี้ไม่ปกติ ชั้นสองก็โดนท่วม ชาวกบินทร์ฯ ก็สำรวจกันว่าทำไม เกิดอะไรขึ้น ไปพบว่าผู้ว่าฯ ปิดประตูน้ำเอาไว้ ไม่ให้น้ำไหลออก ก็เลยไปประท้วงกันกลางถนน ผู้ว่าฯ มา บอกจังหวัดฉันอย่ามาประท้วง ถ้าประท้วงไม่ต้องมาพูดกัน แต่กรรมมันตามมาเร็วมาก ผู้ว่าฯ กลับไม่ทราบว่าถึงบ้านหรือยัง คันดินพังไป 50 เมตร น้ำตู้มเดียวถึงศาลากลางเลย ถ้าปล่อยน้ำให้ไหลตามธรรมชาติ ธรรมชาติมันไม่มีผลประโยชน์ต่อใคร มันควบคุมตัวมันเองเพื่อทุกคน แต่พอเราสร้างเขื่อน มีประตูน้ำขึ้นมา มันก็เกิดการควบคุมเพื่อบางคน ทุกวันนี้เราสร้างทุกอย่างขึ้นมาเพื่อให้เกิดประโยชน์เฉพาะคน นั่นแหละคือปัญหา
      
       

      
       “การเมือง” เรื่องน้ำ
        สอดคล้องกับมุมมองของ หาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ที่มองประเด็นการจัดการน้ำว่าเป็นการเมืองมาเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน
       

        “ที่เห็นได้ชัดที่สุดตอนนี้คือภาคตะวันออก การเมืองชัดเจนมาก เพราะในช่วงนั้นไม่มีการเปิดประตูน้ำ ทั้งที่ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่ต้องปิด ชาวบ้านเองก็อยากให้เปิด เพราะข้าวที่ปลูกไว้เป็นข้าวกลางลอยมันไม่เสียหาย เมื่อน้ำท่วมมันจะค่อยๆ ขยับขึ้นเองได้ แต่ที่มันเสียหายมากก็เพราะไม่มีการเปิดประตูแล้วน้ำมันล้นจนตลิ่งพัง ความเสียหายก็มากกว่าเปิดประตูน้ำแบบปกติ”
       

        ทุกวันนี้ชาวบ้านไม่ต่างไปจาก “ตัวประกันเพื่อให้เกิดโครงการสร้างเขื่อน” ประธานมูลนิธิฯ ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ให้คิด “ทำไมเรื่องบางเรื่องถึงสั่งการโดยที่ยังไม่มีอะไร บางเรื่องยังไม่ทันไร ทำไมเสนอแล้วแม้แต่น้ำท่วมกบินทร์บุรี-ลาดยาว ก็มีการยกประเด็นสร้างเขื่อนแม่วงก์ขึ้นมา ทั้งๆ ที่ลาดยาวถ้ามีการเปิดประตูน้ำ ดูการขุดลอกคูคลอง น้ำท่วมก็อาจจะหาย มันเหมือนเอาวิธีการบริหารน้ำมาอ้าง เมื่อนักการเมืองมาเป็นรัฐมนตรีสั่งการแล้ว คำสั่งแบบนี้ผมไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไร แต่รู้สึกว่ามันไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ชาวบ้าน”
       

        การเมืองอีกประการหนึ่งที่ทำให้การจัดการน้ำล้มเหลวมาจนถึงทุกวันนี้ เกิดจากความผิดพลาดของ“สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.)” ที่ใช้ระบบสั่งการแบบ Single Command คือส่วนกลางมีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งการ ส่งผลให้ท้องถิ่นไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เอง
       

        “พอเกิดปัญหา หลายส่วนไม่กล้าเปิดประตูน้ำ ต้องรอให้ Single Command มาสั่งการ ผมว่านี่เป็นการบริหารงานที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ตอนนี้ต้องรอรองนายกฯ ซึ่งก็แสดงท่าทีไม่รู้ว่าเรามีเครื่องมืออะไรบ้าง ควรปล่อยน้ำช่วงไหน บุคลากรก็ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ
       
       ผมว่ากบอ.แสดงฝีมือหน่อย ไม่ใช่ให้สัมภาษณ์แบบปลอบใจไปวันๆ ต้องมีการเตือนภัยล่วงหน้า ตอนนี้ท่วมแล้วน้ำจะไปไหน? ไปถึงในกี่วัน? ที่เห็นตอนนี้มีแต่ให้สร้างเขื่อนอย่างเดียว แต่วิธีการแบบธรรมชาติเดิมไม่เคยสนใจ ไม่เคยมานั่งเสวนากับชาวบ้านเลย มีแต่จะตั้งโครงการที่มีงบประมาณมากเท่านั้น ไม่มีการวางแผนด้วยซ้ำว่า สาเหตุน้ำท่วมมันมาจากไหน? แนวคิด 3 แสน 5 หมื่นล้านมันคงไม่ได้ผล มันควรมีการวางแผนให้สอดคล้องกับระบบธรรมชาติและประชาชน ไม่ใช่เอาเงินมาตั้งแล้วเอาโครงการมาใส่
       

        กล้าพูดเลยว่ารัฐบาลล้าหลังมากเรื่องการจัดการน้ำ คิดแต่วิธีจัดการแบบเดิมๆ วางแผนตามเส้นทางน้ำเดิมทั้งที่ปีนี้มันเปลี่ยนทิศไปแล้ว
       

        “เมื่อปี 54 น้ำท่วมจากน้ำเหนือ แต่มาปีนี้น้ำมันมาจากทางทิศตะวันออก แผนการเดิมที่เตรียมไว้จึงใช้ไม่ได้ผลเพราะสถานการณ์มันเปลี่ยนแล้ว แต่การทำงานแบบราชการมันก็ทำให้ไม่สามารถจัดการน้ำได้อย่างทันท่วงที”
       

        สุดท้ายก็คิดวิธีกู้หน้า-แก้สถานการณ์ได้ทางออกเดียวคือ “สร้างเขื่อน” คิดว่าจะได้ผล แต่ความจริงแล้วกลับยิ่งส่งให้ผังเมืองเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดปัญหาตามมา เมื่อพื้นที่ส่วนนิคมอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น เข้าไปสร้างเพิ่มขึ้นในส่วนของพื้นที่นาซึ่งเคยเป็นที่รับน้ำ สร้างถนนกีดขวางทางน้ำ ส่งผลให้น้ำมีการไหลที่เปลี่ยนทิศทางไป
       

        “พอทิศทางการไหลของน้ำมันเปลี่ยน ถึงปริมาณน้ำจะมาเท่าเดิม แต่สิ่งกีดขวางทางน้ำมันมากขึ้น สถานการณ์หลายๆ อย่างมันจะยิ่งแย่กว่าเดิมอีก”
      
       

      
       ผู้จัดการ (ผลประโยชน์) ประเทศ?
        ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำคือ ปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ประกาศว่าจะจัดการกับน้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ จ.อุทัยธานี โดยจัดให้ทำ "ทางน้ำหลาก (Flood Way)" ขึ้นมา เพื่อผันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 1,500 ลูกบาศก์เมตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งตะวันตก จำนวน 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนฝั่งตะวันออกจะผันน้ำออกทางแม่น้ำบางปะกง 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มองว่าจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนโดยใช้เวลาสร้างทั้งสิ้นไม่เกิน 5 ปี ส่วนเขื่อนแม่วงก์ หากจะมีการก่อสร้าง ย้ำว่าชาวบ้านจะได้รับผลประโยชน์มาเป็นอันดับหนึ่ง
       

        คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเหตุผลที่ให้ไว้จะเป็นแค่ข้ออ้างเพื่อผลประโยชน์ของใครอีกหรือเปล่า แต่หากมองในมุมนักธรรมชาติวิทยาแล้ว ผศ.ยงยุทธ ก็ขอยืนยันว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าปล่อยให้ธรรมชาติจัดการตัวของมันเอง โดยเฉพาะเรื่องการสร้างเขื่อนที่จะมองอย่างไรก็ไม่เห็นคำว่า “คุ้มค่า” แม้แต่นิดเดียว
       

        “ยิ่งการสร้างเขื่อนทุกวันนี้ชอบอ้างว่าต้องการสร้างให้เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ นอกจากกักน้ำได้ ต้องผลิตไฟฟ้าได้ เขาอ้างว่ามันคุ้ม แต่ถ้าคำนวณเป็นตัวเลขจริงๆ จะเห็นว่าเงินลงทุนสร้างเขื่อนมันมหาศาลแค่ไหน ไฟฟ้าจากเขื่อนก็ปั่นไม่ได้ตลอด ซึ่งความคิดแบบนี้ถือเป็นการคอร์รัปชันอย่างหนึ่ง อาจจะไม่ได้คอร์รัปชันให้เห็นไปตัวเงิน แต่ถือเป็นการคอร์รัปชันน้ำออกมาจากธรรมชาติ ออกมาจากสิ่งมีชีวิต ด้วยความคิดที่ว่าสิ่งที่ฉันทำถูกต้อง มันเป็นสิทธิของฉัน ผมเรียกว่าสิ่งเหล่านี้เป็น Human Wrong คือมันเป็น Human Right เฉพาะกับตัวคนได้ผลประโยชน์
       

        ความจริงที่ควรรู้ไว้คือ เขื่อนเป็นส่วนเกินที่ทำลายระบบทรัพยากรอย่างมหาศาล “โดยธรรมชาติของน้ำแล้ว น้ำจะไหลมาจากที่สูง มารวมตัวกัน ณ จุดใดจุดหนึ่ง เกิดเป็นลำห้วย พอน้ำล้นมาก น้ำก็ควงสะบัดข้ามตลิ่ง ลงไปอยู่ในที่ลุ่ม กลายเป็นบึงเป็นหนอง บึงและหนองเหล่านี้เองที่ทำให้คนสมัยก่อนมีน้ำให้กินให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นในเมืองไทย จนทั่วโลกตะลึง ต้องตั้งคณะกรรมการพื้นที่ลุ่มน้ำเข้ามาศึกษาลักษณะหนองและบึงในบ้านเรา”
       

        ชาวบ้านเองก็ได้ขุดบ่อน้ำตื้นมาจากหนองและบึง พอหน้าแล้ง น้ำลด หนองและบึงก็แห้งและมีหญ้าเกิดขึ้นมาแทน กลายเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ แต่พอมาสร้างเขื่อนกั้นไว้ปุ๊บ พื้นที่ด้านล่างเขื่อนก็ตายหมด น้ำเดินทางไปไม่ถึง บึง-หนองที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็แห้งแล้งตลอดปี ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรที่มีค่ายิ่งในธรรมชาติ เป็นความเสียหายอย่างมหาศาล
       

        “พื้นที่ที่เคยเป็นบึงเป็นหนอง เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์กลายเป็นบ้านจัดสรร เป็นนิคมอุตสาหกรรมไปหมดแล้ว เพราะเขามองเห็นว่าน่าจะสร้างกำไรได้มากกว่า ผลลัพธ์ก็คือพอช่วงน้ำขึ้น จุดนั้นก็กลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ อย่าง แฟลชปลาทอง ขึ้นชื่อว่าท่วมกันแหลกลาญ พอน้ำท่วม เราก็ออกมาโวย แล้วก็ลุกขึ้นมาจัดแจง สร้างเขื่อนกักทุกบริเวณ พอกักไว้ทุกที่ ถามว่าจะให้มันอยู่ตรงไหน มันก็ต้องหาทางเข้าชุมชน”
       

        เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย อาจารย์จึงขออธิบายพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำฝากเอาไว้เสียหน่อย คือต้องรู้จักเข้าใจระบบของธรรมชาติก่อน
       

        “การจัดการธรรมชาติ เขามีหลักง่ายๆ คือ มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน เมื่อมีภัย ทุกชีวิตก็ได้รับภัยเหมือนกัน เมื่อมีความสุข ทุกชีวิตก็สุขถ้วนหน้า ไม่มีใครได้มากกว่าใคร เลยทำให้ในอดีตไม่มีใครโทษใคร ไม่มีเดินขบวน ไม่มีม็อบไปรื้อคันดินกั้นน้ำ เพราะทุกคนเสมอกันหมด
       

        เราจะทำอะไร เราต้องเข้าใจระบบของธรรมชาติ แล้วก็ดูว่าทำยังไงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น มันมีอยู่ 2 วิธี คือเสริมประสิทธิภาพให้ทำงานได้ดีขึ้น หรือปรับตัวเราเองให้เข้ากับการทำงานของธรรมชาติ ดีที่สุดคือปรับตัวเราเอง แต่ถ้าเรายังสร้างๆๆๆ เขื่อนอยู่แบบนี้ กั้นน้ำไปเรื่อยๆ ไอ้ที่เคยมองว่า 5 เมตรก็ท่วมสูงแล้ว เดี๋ยวต่อไปก็อาจจะไม่พ้น
       

        ตอนนี้เราก็ยังคาดเดาสถานการณ์อะไรไม่ได้ ในเมื่อทำอะไรตามอำเภอใจ แล้วเดี๋ยวคอยดู ปีนี้มันจะไม่ท่วมอย่างเดียว มันจะแล้งด้วย เพราะปกติเราจะหน่วงน้ำเอาไว้ แต่นี่เราผลักน้ำออกไปทะเลหมด พอฝนหมดทำไงล่ะ ก็แล้งสิ ต้องวิ่งแจกน้ำกัน แล้วภัยแล้งก็เพิ่มจังหวัดขึ้นมาทุกที ตอนนี้ก็เกือบจะ 73 จังหวัดอยู่แล้ว” อาจารย์พูดไปยิ้มไปอย่างปลงๆ ก่อนฝากปิดท้ายเอาไว้สั้นๆ
       

        “ต้องบอกว่า ทุกวันนี้เราไม่มีระบบผู้ปกครองประเทศ มีแต่ผู้จัดการประเทศ จัดการว่าตรงไหนฉันให้ได้ประโยชน์ และตรงไหน ฉันจะเสียประโยชน์”
      
       ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE

อนุวัตจัดมาเล่า - ลงพื้นที่น้ำท่วมกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี


ดาริน คล่องอักขระ เหตุน้ำท่วมปราจีนบุรี - ผ่าแผน กบอ. ประชาสัมพันธ์หรื



ดาริน คล่องอักขระ เผยสาเหตุน้ำท่วมปราจีนบุรีในปี 56




เช้าวันนี้ (8 ต.ค.2556) น้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณนิคมอมตะนคร อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยเฉพาะบริเวณเฟส 6 และ 8 มีน้ำขึ้นมาท่วมมากสุด ขณะที่ฝนยังตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้รถสัญจรได้ทางเดียว ส่งผลให้การจราจรภายในนิคมติดขัดอย่างมาก


น้ำท่วมบริเวณทางเข้าและเฟส 7 ของนิคมอมตะนคร อ.เมือง จ.ชลบุรี