วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

น้ำมันรั่ว เกาะเสม็ด




เช้ามืดของวันที่ 26 ก.ค.2556 เป็นปฐมบทของข่าวน้ำมันดิบกว่า 50,000 ลิตร รั่วไหลลงสู่ทะเลใกล้ชายฝั่งมาบตาพุด จ.ระยอง ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี (บริษัทในเครือ ปตท.) ที่เริ่มปรากฏต่อสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ข้อมูลจากแหล่งข่าวท่านหนึ่งยืนกร้านว่า ทางผู้บริหารพยายามปกปิดข้อมูลต่อสาธารณะชน
       
        เรื่องแรก ที่ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตถึงการปกปิดข้อเท็จจริง คือ น้ำมันดิบรั่วล่วงเลยมากว่า 7 ชม. ก่อนเป็นข่าวครึกโครม 
        เรื่องที่สอง ในเวลาถัดมา ผู้บริหาร พีทีทีจีซี ได้ให้สัมภาษณ์อย่างหนักแน่น กลายๆ ว่า ..เหตุการณ์ดังกล่าวควบคุมได้แล้ว ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง.. 
       
        แต่วันรุ่งขึ้น! ภาพข่าวที่แพร่สะพัดไปทั่วโลกกลับตรงกันข้าม กับบทสัมภาษณ์โลกสวยของผู้บริหารฯ เพราะคราบน้ำนับดิบจำนวนมหาศาลลุกล้ำเข้ามายังบริเวณ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง น้ำทะเลถูกกลืนด้วยคราบดำตกอยู่ในภาวะวิกฤติเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสงสัยถึงปริมาณน้ำมันที่รั่วออกมา 50,000 ลิตร ดังที่มีได้ให้ข้อมูลจริงหรือไม่ เพราะขัดแย้งกับปริมาณที่ประเมินด้วยสายตาเสียกระไร 
       
        เหตุการณ์น้ำมันรั่วในครั้งนี้ ถือเป็นหายนะต่อธรรมชาติต่อระบบนิเวศในบริเวณใกล้เคียง กระทบคุณภาพความเป็นอยู่ของประชนชนในพื้นที่ กระทบอย่างรุนแรงในเรื่องของการท่องเที่ยวเกี่ยวโยงไปถึงเศรษฐกิจระดับชาติ
       
        ในเรื่องการดำเนินการแก้ไขเห็นได้ชัดว่ายังขาดประสิทธิภาพ จะว่าไปนี่ก็ไม่ใช่เหตุการณ์น้ำมันรั่วลงทะเลครั้งแรกในประเทศไทย ก่อนหน้าเคยมีบทเรียนมาแล้วแต่ทำไมการจัดการยังหละหลวม ยังทำได้เพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ใช้ลมปากพูดกลบเกลื่อนหายนะที่กำลังเกิดขึ้น
       
        กลิ้งไว้ก่อน พีทีทีจีซี (ปตท. สอนไว้) 
        “คำชี้แจงของผู้บริหาร พีทีทีจีซี กรณีน้ำมันรั่ว เขาบอกเสร็จเรียบร้อย น้ำทะเลใสเหมือนเดิมแล้ว บอกเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 56 รุ่งขึ้นวันที่ 29 ก.ค.56 น้ำมันเข้าอ่าวพร้าวทะเลฟ้าใสกลายเป็นทะเลดำ แล้วต่อไปข้อมูลจากบริษัทนี้จะได้รับความเชื่อถือได้อย่างไร” ข้อความจากเฟซบุ๊กเพจ สายตรงภาคสนาม
       
        เรียกว่าสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นนั้นไกลลิบกับคำกล่าวอ้างของผู้บริหาร งานนี้โดนธรรมชาติตีแสกหน้าเจ้าตัว อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอลฯ จึงออกมาชี้แจ้งน้อมรับความผิดพลาดโดยยอมจำนนด้วยหลักฐาน
       
        “ผมในฐานะผู้บริหารสูงสุดของพีทีที โกลบอลฯ ขอยอมรับผิดต่อสังคมและเสียใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสร้างความสับสนว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันที่มีน้ำมันดิบบางส่วนไปถึงเกาะเสม็ด บริษัทพร้อมที่จะรับผิดชอบ”




น้ำมันรั่ว เกาะเสม็ด  ระยอง-ปตท.เหตุน้ำมันรั่ว

น้ำมันรั่ว เกาะเสม็ด เจาะข่าวเด่นสัมภาษณ์ผู้ว่าฯ ระยอง-ปตท.เหตุน้ำมันรั่ว



เจาะข่าวเด่น

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ ThaiTV19 สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม

          เป็นเรื่องที่น่าวิตกไม่น้อยเลยทีเดียว...สำหรับกรณีที่ท่อน้ำมันดิบกลางทะเลของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. เกิดรั่วไหล เมื่อช่วงเช้าวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ส่งผลให้น้ำมันดิบจำนวน 5 หมื่นลิตร ไหลลงสู่ทะเลระยอง โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดพ่นสารเคมี เพื่อสลายคราบน้ำมัน แต่ก็ไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์เมื่อยังมีคราบน้ำมันเล็ดลอดใต้ทุ่น บวกกับกระแสคลื่นลมแรง ทำให้คราบน้ำมันทะลักเข้ามายังชายฝั่งอ่าวพร้าว ก่อนที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง จะประกาศให้อ่าวพร้าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติทางทะเล 



เคยเห็นแต่ในค่างประเทศ  ไม่นึกไม่ฝันว่าภาพนี้จะมีวันเกิดขึ้นในไทยได้  ไม่แน่!ในทุกสิ่ง

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผวจ.ระยอง พร้อมด้วยนายพรเทพ บุตรนิพัทธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทหารจากกองพันทหารราบที่ 7 จ.ระยอง และหน่วยนาวิกโยธิน สัตหีบจ.ชลบุรี กว่า 300 นายเพื่อเร่งกำจัดคราบน้ำมันที่ทะลักเข้าอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จนทะเลดำเป็นสีดำทั้งหาด ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ส่งผลกระทบการท่องเที่ยวรีสอร์ตปิดร้าง ไร้เงานักท่องเที่ยว


การเฝ้าระวังชายฝั่ง พบกลุ่มคราบน้ำมันประมาณ 500 ตารางเมตร เคลื่อนตัวมาตามกระแสลม ห่างเกาะเสม็ดประมาณ 2 กิโลเมตร จึงเร่งให้กลุ่มบริษัท ปตท. นำทุ่นไปสกัดกั้นคราบน้ำมัน





เผยแพร่เมื่อ 6 ต.ค. 2013
น้ำอาจจะ "ใส" แล้ว แต่ผลกระทบในพื้นที่ทะเลระยองรวมถึงบริเวณ­­ใกล้เคียงยังคงมีอยู่จริง และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ (ซึ่งย่อมกระทบต่อมนุษย์ในที่สุด) ไม่สามารถหายไปในระยะเวลาสั้นๆ ได้

เริ่มต้นด้วยการพูดความจริง เปิดเผยข้อเท็จจริง เพื่อร่วมกันหาหนทางเยียวยาแก้ไขให้ถูกจุด รวมถึงหาทางป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั­­้งในระยะสั้นและระยาว


ไม่มีความคิดเห็น: